การส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา โทรักษา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมกูล ถาวรกิจ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการจัดกิจกรรม, การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การจัดหลักสูตรในสถานศึกษาที่ผ่านมาไม่สามารถสะท้อนภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษา ผู้เรียนและท้องถิ่นได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ในโครงสร้างของหลักสูตร บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2   2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำนวน 186 คน เป็นผู้บริหาร 58 คน และครู  128  คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดจากตารางสำเร็จรูปของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อหาสัดส่วนแต่ละโรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .943 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีคำถามที่แน่นอน จำนวน 1 ฉบับ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์เนื้อหา และ วิเคราะห์สถิติสรุปผลการวิจัย   

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2  โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.05) ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านกิจกรรมนักเรียน  (gif.latex?\bar{X} = 4.14)  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ (gif.latex?\bar{X} = 3.97) 2) แนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2   (1) ควรมีการจัดหลักสูตรและสอดแทรกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (2) ควรมีการสำรวจความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (3) ควรจัดให้มีการแนะแนวทางให้ทำอาชีพสุจริต (4) ควรจัดให้ผู้เรียนได้ฝึกทำงาน และบริการสังคม ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้ (1) ผู้บริหารใช้ผลการวิจัยเป็นข้อมูลในการวางแผน จัดส่งเสริมและพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในการบริหารงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น  (2) เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในการปรับปรุงและแก้ไขการบริหารงานการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้การจัดการศึกษาในสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด
ขัตติยะ โคตรถา. (2558). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 3 สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.
ชญาภารัศมิ์ ธนยศเบญญพัชร์. (2560). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ชินภัทร ภูมิรัตน์. (2553). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. http://www.eng.ubu.ac.th/~personnel/personneldata/nanasara/KM1.doc/
ณัฐชยา ฐานีสร, นรา บูรณรัช, วรรณี ลิมอักษร, อุษา เหมตะศิลป, ดวงจันทร์ เดชรักษา และศุภวดี บุญญวงศ์. (2551). ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา : โครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สงขลา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิไลรัตน์ โกพลรัตน์. (2556). การดำเนินงานกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม.
วยุรี กองเส็ง. (2557). บทบาทในการส่งเสริมการจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 2.
สุพิชญ์ ประจญยุทธ. (2552). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement. (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29