ความพร้อมในการบริหารจัดการองค์การตามหลักการบริหารจัดการ และการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ธนบดี ฐานะชาลา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ภูริวัจน์ รักษ์ธนอนันต์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการบริหารจัดการองค์การ, การให้บริการสาธารณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการบริหารจัดการองค์การตามหลักการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ศึกษาระดับการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา 3) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับความพร้อมในการบริหารจัดการองค์การตามหลักการบริหารจัดการมีผลต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการในเขตเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 200 คน และสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 33 คน วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความพร้อมในการบริหารจัดการองค์การตามหลักการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีระดับความพร้อมมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านสมรรถนะทางการบริหาร รองลงมา ด้านวัฒนธรรมองค์การ ตามลำดับ
2. การให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา ภาพรวม มีระดับการให้บริการมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า รองลงมา คือ ด้านการให้บริการที่ตรงกับความต้องการ ตามลำดับ
3. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเกี่ยวกับความพร้อมในการบริหารจัดการองค์การตามหลักการบริหารจัดการและการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ด้านทรัพยากรการบริหาร ด้านกระบวนการ/เทคโนโลยี และด้านสมรรถนะทางการบริหาร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีการบริหารงานแบบโครงการจำนวนมาก ซึ่งทำให้ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร และควรเพิ่มการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวในพื้นที่

References

จรัสศรี เวียงทอง. (2549). บทบาทของชุมชนในการจัดหาทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ภาวิณี วรรณสุข. (2549). ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อสมรรถนะการให้บริการของงานสวัสดิการกองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2543). การกระจายอำนาจตาม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรรมศาสตร์.
สุพจน์ ทรายแก้ว. (2549). การบริหารผลการปฏิบัติงานในองค์การภาครัฐ. วารสารวิชาการวไลยอลงกรณ์. 1(1), 18-32.
ปัญญา ชาติปัญญาวุฒิ. (2545). เปรียบเทียบความ พึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริหารสาธารณูปโภคด้านต่าง ๆ ภายในเขตเทศบาล ตำบลวัฒนานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2547). การบริหารจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านฉาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบาย
สาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Taro, Yamane. 1973. Statistics : An Introductory Analysis. Tokyo : Harper International Edition.
Gulick, Luther, Lindon Urwick. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton :Augustus M. Kelley.

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29