การออกแบบตราสัญลักษณ์บ้านสวนเมล่อน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • วิชาญ ตอรบรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • สมศักดิ์ ทองแก้ว

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ชุมชน, ตราสัญลักษณ์, เกษตรกรคนรุ่นใหม่, แม่น้ำบางปะกง, เมล่อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อสำรวจบริบทชุมชนและคัดเลือกอัตลักษณ์สำหรับนำมาใช้ออกแบบตราสัญลักษณ์บ้านสวนเมล่อน อำเภอบ้านโพธิ์ การดำเนินงานเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร การลงสำรวจพื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์ สัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกกลุ่ม Young Smart farmer จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมากำหนดเป็นเกณฑ์ย่อยและตัวเลือก โดยจะถูกคัดเลือกด้วยวิธี Analytic Hierarchy Process ซึ่งจะนำมาใช้เป็นแนวคิดสำหรับการร่างแบบสัญลักษณ์ และประเมินการออกแบบก่อนถูกแก้ไขอีกครั้ง การศึกษาพบว่า บริบทชุมชนที่สำคัญของอำเภอบ้านโพธิ์คือ ทรัพยากรแหล่งแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ยังมีวัดสำคัญได้แก่ วัดสนามจันทร์ วัดผาณิตาราม และวัดบ้านโพธิ์ ที่นำมาใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับการออกแบบ อย่างไรก็ตามผลจากการกำหนดเกณฑ์ย่อยและตัวเลือก พบว่า ตราสัญลักษณ์ควรสื่อถึงสวนเมล่อนอินทรีย์ชิดแม่น้ำบางปะกงที่มีการออกแบบให้มีความเรียบง่าย สะท้อนถึงการประกอบอาชีพของกลุ่มและสื่อถึงผลผลิตที่เกิดจากการทำเกษตรกรรม ภาพประกอบของตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย ลวดลายของผลเมล่อน บ้าน พื้นที่เพาะปลูก คำที่แสดงชื่อกลุ่ม อักษรภาษาญี่ปุ่น ที่มีความหมายว่า เมล่อน และพระอาทิตย์ที่โผล่เหนือแม่น้ำบางปะกง ตราสัญลักษณ์นี้จะสะท้อนถึงบ้านสวนเมล่อนที่สามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับตราสินค้าต่อไป

References

เกษม กุณาศรี, ชนิตา พันธุ์มณี, สมบัติ สิงฆราช, สุภา สุเทพ และดวงตา สุเทพ. (2560). การเลือกเอกลักษณ์ท้องถิ่นสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยพู. Journal and community development research (Humanities and Social Sciences), 10(4): 86-97.

กองแผนงาน กรมพัฒนาชุมชน. (2561). เข้าถึงได้: https://plan.cdd.go.th/actionplan63 [1 ม.ค. 2561].

จินตา แปบดิบ. (2556). วาทกรรมอัตลักษณ์์ไทใหญ่ชุมชนบ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao. Vol. 1, No. 2.

นิรมล ขมหวาน. (2557). อัตลักษณ์ของชุมชนตลาดโบราณบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2: 1-13.

นุชนาฏ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. 111.

เบญจวรรณ สุพันอ่างทอง. (2555). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี. วิทยนิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ประชิด ทิณบุตร, ธีระชัย สุขสวัสดิ์ และอดิสรณ์ สมนึกแท่น. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1.

วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2560). อัตลักษณ์ชุมชน : แนวคิดและการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาล ตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารศิลปะการจัดการ, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2: 63-74.

อมรรัตน์ บุญสว่าง. (2559). การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมสินค้าอาหารเอกลักษณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร. Vol. 13 No. 2.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01