การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยใช้กระบวนการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน บนเครือข่ายสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
แผนการจัดการเรียนรู้, จิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียน, เพื่อนช่วยเพื่อน, เครือข่ายสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กระบวนการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน รายวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กระบวนการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กระบวนการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2/2563 จำนวน 1 ตอนเรียน จำนวน 18 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน วิธีการของวิลคอกซัน (The Wilcoxon Signed Ranks Test)
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กระบวนการแบบเพื่อนช่วยเพื่อนรายวิชาจิตวิทยาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมีประสิทธิภาพ ด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ 75.92 และด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 75.69 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กระบวนการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน อยู่ในระดับ มากที่สุด คือ ด้านกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.68) รองลงมาด้านวัดประเมินผลการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.93) และด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับ ( = 4.08, S.D. = 0.86) ตามลำดับ
References
กนกอร ศรีสมพันธุ์. (2560). การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนในกิจกรรมการสอบสาธิตย้อนกลับกลไกการคลอด. Journal of Health
Science Research, 11(2), 138-146.
กัมปนาท คูศิริรัตน์. (2564). ผลการจัดกิจกรรมผ่านระบบการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกรายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงาน เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(1), 97-108.
คมสิทธิ์ สิทธิประการ, วิกรม ฉันทรางกูร และภัชญาภา ทองใส. (2563). ผลสัมฤทธิ์การเรียนการอ่านขั้นสูงของนักศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(11), 185-198.
สิริกัญญา มณีนิล และศศิฉาย ธนะมัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ที่มีลีลาการเรียนรู้แตกต่างกัน. STOU Education Journal, 13(1), 15-29.
สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2553). การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 27(1) 81-96.
สุปรีดา อดุลยานนท์. (2562). สสส.ปลุกพ่อแม่ร่วมแก้เด็กติดจอมือถือพุ่ง 9 ชั่วโมง/วัน. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th.
อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ. (2562). Social Comparison ความทุกข์จากการเปรียบเทียบกันบนโซเชียลมีเดีย. สืบค้นจาก https://thematter.com.
Atwood, M. (2560). Leon Festinger’s Social Comparison Theory. Retrieved from https://www.psychologynoteshq.com.
Capstick, S., & Fleming, H. (2001). Peer assisted learning in an undergraduate hospitality course: second year students supporting first year students in group learning. Journal of Hospitality, Leisure, Sport & Tourism Education, 1(1), 69-75.
Festinger, L. (1954). A Theory of Social Comparison Processes. Human Relations, 7(2), 117–140.
Primack, B. A., Shensa, A., Sidani, J. E., Whaite, E. O., yi Lin, L., Rosen, D., & Miller, E. (2017). Social media use and perceived social isolation among young adults in the US. American journal of preventive medicine, 53(1), 1-8.
LaMotte, A. (2016). How to Design Your E-Learning Course Using Gagne’s 9 Events of Instruction. Retrieved from https://community. articulate.com.