การส่งเสริมทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมี 6 ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการทำโครงงานแบบย่อผ่านใบกิจกรรมบน padlet

ผู้แต่ง

  • ปริญญา มัจฉา ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนบึงศรีราชาพิทยาคม

คำสำคัญ:

ปัญหาเป็นฐาน, คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โครงงานแบบย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้และผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ประเภทของโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เรียน จำนวน 34 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบึงศรีราชาพิทยาคม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการทำโครงงานแบบย่อผ่านใบกิจกรรม Chemistry mini-project worksheet เรื่อง ประเภทของโครงงาน จำนวน 3 แผน 2) แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมี 6 ผู้วิจัยนำข้อมูลจากแบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสะท้อนแนวทางการจัดการเรียนรู้ และนำข้อมูลที่ได้จาก ใบกิจกรรม ผลการทดสอบการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และผลการทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมี 6 มาวิเคราะห์ค่า paired sample t-test
    ผลการวิจัย พบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการทำโครงงานแบบย่อผ่านใบกิจกรรม Chemistry mini-project worksheet เรื่อง ประเภทของโครงงาน เคมี 6 เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาจากการ ทำการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนสีของตัวอย่างอินดิเคเตอร์กรด-เบส ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา โดยใช้คำถามเกี่ยวกับปัญหาและกำหนดหัวข้อในการสืบค้นความรู้เรื่องอินดิเคเตอร์กรด-เบส ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้เรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางในการสำรวจอินดิเคเตอร์กรด-เบส ค่า pH และการทดลองหาช่วงการเปลี่ยนสีองอินดิเคเตอร์ ตามหัวข้อที่กำหนด ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลที่สืบค้นได้ร่วมกันสรุปให้ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าของคำตอบ เป็นขั้นที่ผู้เรียนร่วมกันเลือกแนวทางหาคำตอบและในประเด็นที่ผู้เรียนตั้งปัญหาหรือตั้งสมมติฐาน และขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน โดยนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับอินคิเคเตอร์กรด-เบส
  การจัดการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานในเรื่องอินดิเคเตอร์กรด-เบส สามารถพัฒนาความสามารถการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนสูงขึ้น โดยผู้เรียนสามารถสร้างข้อกล่าวอ้างได้ดีที่สุด รองลงมาคือการสร้างข้อสนับสนุน และมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนา มหาลี. (2559). ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(2), 284-310.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กฤตกร สภาสันติกุล. (2559). ผลของกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้ การทำนาย การสังเกต การอธิบาย อย่างมีขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 11(1), 219-237.

กานต์พจี รัตนแสง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารผ่านการนำเสนอผลงานของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ. 9, 121-130.

ฉัตรวิมล ทาระเนต์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การศึกษามโนมติทางการเรียน เรื่อง การไทเทรต ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยโปรแกรมการทดลองเสมือนจริง. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(12), 123-137.

ณัฐธิดา พรหมยอด. (2562). การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ CER (Claim, Evidence and Reasoning). นิตยสาร สสวท. 47(219): 11-15.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธพงษ์ สีลาขวา, ฐิติชญา หมูสี และ นิพล สังสุทธิ. (2558). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง สวัสดีอาเซียน ตามแนวคิดทฤษฏีพฤติกรรมนิยม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 2(2), 23-28.

นันทนา ฐานวิเศษ และ วาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้งานและพลังงานและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 29(2), 43-50.

พัณนิดา มีลา (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 19(3), 1–15.

ภัทราวดี มากมี. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์เอเชีย, 13(5), 103-108.

เมธินี ทาระวัน และ เมษา นวลศรี. (2564). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(6), 20-33.

รังสินี พูลเพิ่ม, จันทนา โปรยเงิน, แสงจันทร์ สุนันต๊ะ และนนทิกา พรหมเป็ง. (2561). ประสิทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐานของผู้เรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(3), 126-136.

วิไล โพธิ์ชื่น. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6(1), 141-153.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริมา มิ่งเมือง. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคนิคแผนผังความคิดเพื่อพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7(13). 139-154.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิสการพิมพ์.

อุษณี ดวงพรม. (2561). การตั้งสมมติฐานในการวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(2).

เอกกมล บุญยะผลานันท.์ (2557). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 2(2), 3-7.

Allchin D. (2013). Problem- and case-based learning in science: an introduction to distinctions, values, and outcomes. CBE Life Sci Educ. 12(3), 364-72. doi: 10.1187/cbe.12-11-0190.

Gallagher, S. A. (1997). Problem-Based Learning: Where Did it Come from, What Does it Do, and Where is it Going? Journal for the Education of the Gifted, 20(4), 332–362. https:// doi.org/10.1177/016235329702000402

McNeill, K. L., & amp; Krajcik, J. (2007). Scientific explanations: Characterizing and evaluating the effects of teachers' instructional practices on student learning. Journal of Research in Science Teaching, 45(1), 53–78. https://doi.org/10.1002/ tea.20201

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29