ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติกับรูปแบบออนไลน์ที่มีต่อทักษะมวยสากลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในวิกฤตโรคระบาดโควิด-19

ผู้แต่ง

  • จรูญศักดิ์ พันธวิศิษฏ์ สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธนากร ศรีชาพันธุ์ สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พิชามญช์ จันทุรส สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนแบบปกติ, รูปแบบออนไลน์, ทักษะมวยสากล, วิกฤตโรคระบาดโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติและรูปแบบออนไลน์ที่มีต่อทักษะมวยสากลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 และ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติกับรูปแบบออนไลน์ที่มีต่อทักษะมวยสากลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2564 จำนวน 62 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ 3) แบบทดสอบทักษะมวยสากล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของทักษะมวยสากลของกลุ่มการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ ก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลของทักษะมวยสากลของกลุ่มการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบปกติกับกลุ่มการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 จาก http://slc.mbu.ac.th/wpcontent/uploads/2020/06/ pdf.

เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. Rajapark Journal, 15: 1-14.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์และวรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2558). “ปรัชญาการพลศึกษา”. ประมวลบทความพลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการและวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์พิมพ์ดี.

Altbach, P. G., Reisberg, L., & Rumbley, L. E. (2009). Trends in Global Higher Education: Tracking an Academic Revolution. http://unesdoc.unesco.org/images/0018/001831/183168e.pdf.

Dill, D. D., & Vught, F. A. (2010). National Innovation and the Academic Research Enterprise; Public Policy in Global Perspective. Baltimore: The Johns Hopkins University Press.

Hodges C., Moore S., Lockee B., Trust T. & Bond A. (2020). The difference between emergency remote teaching and online learning. EDUCAUSE Review. https://er.educause.edu/articles thedifference-between-emergency-remote-teachingand-online-learning

Means, B., Bakia, M., & Murphy, R. (2014). Learning online: what research tells us about whether, when and how. New York: Routledge.

Schleicher, A. (2012). OECD Skills Strategy: The pathway of choice. Organization for Economic Cooperation and Development. The OECD Observer, 290(291), 43-44.

Watson, J., Murin, A., Vashaw, L., Gemin, B., & Rapp, C. (2012). Keeping Pace with K-12 Online and Blended Learning. Evergreen Education Group. Retrieved from http://kpk12.com/cms/wp-content/uploads/KeepingPace2012.pdf

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29