ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • สายน้ำผึ้ง บุญมา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พรพรรณ ดอนพนัส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สุเทพ เกิดปราง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ระดับการศึกษาต่อปริญญาโท

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ราชนครินทร์ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย    ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่แน่ใจต่อความต้องการศึกษาต่อ จำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ช่วงเวลาที่ต้องการศึกษาต่อมากที่สุด คือ หลังจากได้งานทำ จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 78.46 สาขาวิชาที่สนใจศึกษาต่อ ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 29.23 ช่วงเวลาที่สนใจศึกษาต่อ วันเสาร์-วันอาทิตย์ (08.30-17.00 น.) จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 การศึกษาดูงานต่างประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า จำเป็น จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 60   2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ด้านสาขาวิชา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมีสาขาวิชาที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่จบปริญญาตรี โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}  =3.80, S.D.=0.83) ด้านภาพลักษณ์ขององค์กร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมีที่จอดรถกว้างขวางเพียงพอ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\bar{}=3.50, S.D.=0.99) ด้านการจัดการเรียนการสอน มีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่คณาจารย์ผู้สอนเป็นผู้มีองค์ความรู้และสามารถถ่ายทอดให้นักศึกษาเข้าใจได้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\bar{}=3.97, S.D.=0.93) ด้านการบริหารจัดการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ระบบการติดต่อระหว่างนักศึกษากับอาจารย์มีความสะดวก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  =3.64, S.D.=0.89) ด้านค่าธรรมเนียมการศึกษา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากธรรมเนียมการศึกษาไม่สูงเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?x\bar{} =3.88, S.D.=0.87) ด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมีศูนย์อาหารที่มีที่นั่งเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาที่ใช้บริการ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง( gif.latex?x\bar{} =3.38, S.D.=1.06) ด้านสถาบัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( gif.latex?x\bar{} =3.81, S.D.=0.84)

References

จุฑามาศ ตันนิรัตนโอภาส. (2548). การตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนช่วงชั้นปีที่ 4 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนวบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนาชัยวัฒน์ เดชาสินธ์เจริญ. (2553). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2548). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 4 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พีระ พันธุ์งาม ณัฐวัชต์ บุญภาพ ธัญลักษณ์ ครึ่งธิ และสุลีมาส คำมุง. (2559, มกราคม- มิถุนายน). การตัดสินใจเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแปซิฟิค, 2(1), 121-127

ลภัสรินทร์ รัตนบุรี. (2558). ศึกษาความต้องการ การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของนักศึกษา ในสถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์นครศรีธรรมราช. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช.

วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2556, กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2).

ศรีน้อย ชุ่มคำ และคณะ. (2559, กันยายน–ธันวาคม) ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ในสาขาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11 (3), 379-390.

อรุณศรี กุมุท. (2529). เอกสารประกอบการบรรยายการใช้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุมิตร สุวรรณ และจันทิมา จำนงนารถ. (2554). ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่ภาคตะวันออก. รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29