การพัฒนารูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2

ผู้แต่ง

  • สุพิชฌาย์ เจริญรักษ์ ผู้อำนายการโรงเรีบนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, คุณภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ครั้งนี้         มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 2) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ระยะเวลาที่ใช้ในวิจัยปีการศึกษา 2561 - 2562 (ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพกระบวนการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จำนวน 40 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept interview) รวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน และวิเคราะห์รูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน จำนวน 12 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL จำนวน 5 คน 4) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2561 จำนวน 334 คน  ปีการศึกษา 2562 จำนวน 335 คน 5) ครูกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2561 จำนวน 86 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 84 คน 6) ผู้ปกครอง ในปีการศึกษา 2561 จำนวน จำนวน 334 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นมาตรประมาณค่า (Rating scale) จำนวน 4 ฉบับแบบสอบถามสภาพกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน แบบสอบถามการวิเคราะห์รูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน แบบประเมินรูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครอง ที่มีต่อรูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL และแบบบันทึกผลคุณภาพผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.96 -0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 20 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัย

  1. ผลการศึกษาสภาพกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน

            ผลการวิเคราะห์รูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านหลักการของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ          ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านผลผลิตของรูปแบบ

            ผลการประเมินรูปแบบการบริหาร BEN2 MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกตองครอบคลุม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ด้านความเป็นประโยชน์

  1. ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ด้านเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก หลังพัฒนาปีการศึกษา 2561-2562 พบว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 8 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 57.14 ของตัวชี้วัดทั้งหมด เมื่อพิจารณาค่าพัฒนาการ พบว่าร้อยละของผลงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เป็นผลงาน/นวัตกรรมทางวิชาการหรือวิชาชีพ ได้จากการออกแบบ การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ ในด้านผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ มีพัฒนาการมากที่สุด รองลงมา คือ ร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง (ภาษาจีน) มีทักษะการสื่อสารได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของภาษานั้น ๆ ร้อยละ 80 ขึ้นไป ในด้านสื่อสารสองภาษา  ส่วนร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปในด้านเป็นเลิศทางวิชาการมีพัฒนาการน้อยที่สุด
  2. ความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการบริหาร BEN2 MODELของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 หลังพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562

            ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มครูมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุด 

            ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มครูมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุด

References

กรมวิชาการ.(2540).การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จิตณา มั่นคง. (2554). การดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปัญจรัศม์ แซ่ตัง และคณะ. (2557). รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9 (ฉบับพิเศษ), 133-151

ผุสดี แสงหล่อ. (2555). ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อต่อการบริหารงานของโรงเรียนสวนป่าอุปถัมภ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วจีพร แก้วหล้า. (2558). การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1), 1-9.

สายนภา ดาวแสง. (2559). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษา อังกฤษเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2549-2553). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2555). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สําลี รักสุทธิ์ และคณะ. (2544). เทคนิควิธีการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.

สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มศึกษาและลักษณะสำคัญของกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 10(2), 1-22.

สุรพล พิมพ์สอน. (2557). กลยุทธการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 42(3), 56-73.

Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism : Their Form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Education.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill Book.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01