การบริหารงานวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคพลิกผันของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ , ยุคพลิกผัน , โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกยุค พลิกผันของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคพลิกผันของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 124 คน และเชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคพลิกผันของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมา คือ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การประเมินผลการดำเนินงานวิชาการ
2. แนวทางการบริหารงานวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคพลิกผันของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 พบว่า ควรมีการปรับปรุงแผนงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำปฏิทินกำหนดการปฏิบัติงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ควรมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานให้เป็นระบบ มีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในโครงสร้างอย่างชัดเจน การจัดการเรียนการสอนควรเน้นการบรรยายมากกว่าการฝึกปฏิบัติ ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย ควรมีคลังข้อสอบในโรงเรียนเพื่อการจัดเก็บข้อสอบอย่างเป็นระบบและสามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการแต่งตั้งคำสั่งเพื่อมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจนให้ผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในการแนะแนวการศึกษา ควรส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานวิชาการมากยิ่งขึ้น
References
กมลวรรณ จันทร และศัลสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021" วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564.
กฤชกร ไพคำนามและสุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(1): 55-67.
ชวลิต ขอดศิริ, วชิรา เครือคอ้าย และจักปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2565). ทิศทางและแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการประถมศึกษาในยุค Digital Disruption. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 17(1): 1-16.
ศิรินภา วรรณสินธ์, ศิริ ถีอาสนา และ เสน่ห์ คำสมหมาย. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8(2): 139-150.
สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. (2564). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาชลบุรีเขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานในโรงเรียน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค พลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2564). เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล.(School Management in Digital Era) โครงการสานพลังประชารัฐ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607–610.