การเปรียบเทียบความเมตตากรุณาต่อตนเองและปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต ในยุควิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • ณีน์นรา ดีสม อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อังคณา กุลนภาดล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พิกุล ประดับศรี อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ความเมตตากรุณาต่อตนเอง ปัจจัยส่วนบุคคล นักศึกษาคณะครุศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเมตตากรุณาต่อตนเองและปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา    ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ชั้นปีที่ 1 - 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความเมตตากรุณาต่อตนเองที่พัฒนาจาก The Self-compassion Scale (SCS) มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรนณา และ F-test : one way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด รองลงมาคือระดับสูง และระดับต่ำ  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษาเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านความอ่อนโยนต่อตนเอง ด้านการมีสติตระหนักรู้ ด้านความรู้สึกโดดเดี่ยวและแยกตัว ด้านการเข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ด้านการตัดสินและตำหนิตนเอง และด้านการจมอยู่กับอารมณ์ความรู้สึก 2) ผลการเปรียบเทียบความเมตตากรุณาต่อตนเองจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่ศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสม พบว่า นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่างกันมีค่าเฉลี่ยความเมตตากรุณาต่อตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.5 นักศึกษาที่มี เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่ศึกษา แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความเมตตากรุณาต่อตนเองไม่แตกต่างกัน

References

คาลอส บุญสุภา, มฤษฎ์ แก้วจินดา, และวรางคณา โสมะนันท์. (2564). การเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตในมหาวิทยาลัยในการกับของรัฐ.วารสารเกษมบัณฑิต, 22(2), 43-53

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา, พรชนา กลัดแก้ว. (2564) วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 15(1) 14-28.

ดาไลลามะที่ 14 โฮเวิร์ด ซี.คัทเลอร์ (พบ.) (2548). ศิลปะแห่งความสุข [The Art of Happiness] (วัชรีวรรณ ชัยวรศิลป์,แปล). กรุงเทพฯ: อีเทอร์นัล อิงค์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1998).

ดุษณีย์ ชาญปรีชา, สุกุมา แสงเดือนฉาย, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, สําเนา นิลบรรณ, ญาดา จีนประชา และ ธัญญา สิงโต. (2559). หลักสูตร:คู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนที่มีภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ : สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

เติมศักดิ์ คทวนิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพ: เอเชียเพลส.

ภัทรพงษ์ ธำมรงค์ปรีชาชัย, ธีรวรรณ ธีระพงษ์ และ วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (2563). อิทธิพลของความเมตตากรุณาต่อตนเองที่มีต่อความกรุณาต่อผู้อื่นและความสุขของจิตอาสาในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล. มนุษยศาสตร์สาร, 21(2), 84 - 102.

วิจิตรภาณี เจริญขวัญ. (2556). ระบบและทฤษฎีทางจิตวิทยา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชราวดี บุญสร้างสม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเครียดและความสุขในนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2, วัยรุ่น-วัยสูงอายุ, (พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับพิมพ์เพิ่ม)). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ และพรพรรณ เชยจิตร. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 94-113.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, เทพไทย โชติชัย, สมฤทัย ผดุงผล, กิรณา แต้อารักษ์ และ ชลการ ทรงศร. (2563). ความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข.วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 194-203.

อธิวัฒน์ ยิ่งสูง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความ ละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติปัญญาและปัญหาด้านจิตใจของนิสิตระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี ชุ่มบัวทอง, พิชญา ทองอยู่เย็น, ณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล, ชัยยา น้อยนารถ, ศักดิ์ชัย จันทะแสง และพลพงศ์ สุขสว่าง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียนของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 81-93.

Guan, F., Wu, Y., Ren, W. et al. Self-compassion and the Mitigation of Negative Affect in the Era of Social Distancing. Mindfulness, 12, 2184–2195 (2021). https://doi.org/10.1007/s12671-021-01674-w

Kristin Neff (2022), Definition of Self- Compassion. Retrieved 29 April 2021, From https://self-compassion.org/.

Rabon, J; Sirois, F; Barton, A; Hirsch, J. Self-compassion and suicidal behavior: Indirect effects of depression, anxiety, And hopelessness across increasingly vulnerable samples. Self and Identity, 21, 2 (2021).

https://doi.org/10.1080/15298868.2021. 1884592

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29