การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ , ประสิทธิภาพของชุดกิกรรม , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คนโดยสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในความเหมาะสม เท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ปก คำนำ สารบัญ คำชี้แจง ขั้นตอนการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คำแนะนำสำหรับครู/ผู้เรียน ผังมโนทัศน์ ผลการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/จุดประสงค์การเรียนรู้ บัตรคำสั่ง แบบทดสอบก่อนเรียน บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม แบบทดสอบหลังเรียน บรรณานุกรม และภาคผนวก ประกอบด้วยชุดกิจกรรม 9 ชุด คือ 1) พันธะของคาร์บอน 2) ไอโซเมอร์ และหมู่ฟังก์ชัน 3) แอลเคน 4) แอลคีน แอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน 5) แอลกอฮอล์ ฟีนอล และอีเทอร์ 6) แอลดีไฮด์ และคีโตน 7) กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ 8) เอมีน และเอไมด์ 9) การใช้ประโยชน์ของสารประกอบอินทรีย์
ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือรายบุคคล ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 86.31/ 85.18 การทดลองกับกลุ่มเล็ก ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 84.75/ 86.54 และการทดลองกับกลุ่มใหญ่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 84.69/ 86.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เท่ากับ 80/ 80
2. ผลการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์ สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 87.44/ 85.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เท่ากับ 80/ 80 และผู้เรียนในกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุณฑรี เพชรทวีพรเดช และคณะ. (2552). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1):5-20.
ซารีนา พลสา. (2553). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพคุณ แดงบุญ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
พนมพร ค่ำคูณ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พรรณี ชูทัย เจนจิต. (2550). จิตวิทยาการเรียนการสอน. นนทบุรี : เกรท เอ็ดดูเคชัน.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2553). โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในหลักสูตรฝึกอบรมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552) . การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.
ราตรี นันทสุคนธ์. (2554). การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
รุจิรา ธัญญานนท์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เป็นฐาน. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
รุ่งทิวา การะกุล. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์, สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร :ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
ศศิวิมล สนิทบุญ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ ที่มีต่อมโนทัศน์และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์อะตอม. วิทยานิพนธ์, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรินภา ชิ้นทอง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์, สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). สาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 4(1), 55-63.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์ :ประสานการพิมพ์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ผลการทดสอบระดับชาติ ระดับจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2563. จาก sp.moe.go.th/sp_2563/i.
อัญชลี สุเทวี. (2554). ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา โมเดลกับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อับดุลเลาะห์ อูมาร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมี ที่มีต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Gustafson, K. L., & Branch, R. M. (2002). Survey of Instructional Development Models (4th ed.). New York: ERIC Clearinghouse on Information & Technology.
Myers, B. E. & Dyer, J. E. (2006). Effects of Investigative Laboratory Instruction on Content Knowledge and Science Process Skill Achievement Across Learning Styles. Journal of Agricultural Education, 47(4), 52-63.
Oliva, P. F. (2005). Developing the Curriculum (6th ed.). Boston: Pearson Education.
Simsek, P., & Kabapınar, F. (2010). The Effects of Inquiry-Based Learning on Elementary Students’Conceptual Understanding of Matter, Scientific Process Skills and Science Attitudes. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(2010), 1190-1194.
Tennyson, R. D. (2010). Historical Reflection on Learning Theories and Instructional Design. Contemporary Educational Technology, 1(1), 1-16. Retrieved May 16, 2011. from http://www.pedagogy.ir/images/pdf/historical-reflection-LT.pdf