กลวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนให้กับนักเรียนชาติพันธุ์ไทย-เขมร
คำสำคัญ:
การสอนภาษาไทย , การอ่านและการเขียน, นักเรียนชาติพันธุ์ไทย-เขมรบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอกลวิธีการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านให้กับนักเรียนชาติพันธุ์ไทย-เขมร การสอนทักษะทางภาษาให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดคือผู้สอนต้องเข้าใจพื้นฐานของผู้เรียนและผู้สอนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การสอนในด้านภาษาศาสตร์เพราะเป็นสิ่งที่ทุกภาษาสามารถทำความเข้าใจร่วมกันได้ เมื่อผู้สอนเข้าใจพื้นฐานของผู้เรียนแล้วต้องหาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การสอนภาษาแบบโฟนิกส์ซึ่งเป็นวิธีการสอนออกเสียง ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวอักษรโดยใช้การออกเสียงเป็นตัวกำหนด และให้ความสำคัญกับเสียงของตัวอักษรและการสะกดคำและทฤษฎีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน Brain-based Learning (BBL) ซึ่งการเรียนรู้ภาษาเป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้าในการช่วยในการจำด้วยการใช้สีแยกองค์ประกอบของคำให้ชัดเจนผ่านบัตรคำเพื่อให้เด็กได้ฝึกการอ่าน เพื่อนำไปสู่การออกแบบสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเหมาะสม
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษสุดา บูรณพันศักดิ์. (2564). โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านการอ่านออกเขียนได้และการวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นภาลัย สุวรรณธาดา. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 1-6 นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประกอบ ผลงาม. (2538). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทย : เขมรถิ่นไทย. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปราณี กุลละวณิชย์และคณะ. (2540). ภาษาทัศนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิ่นแก้ว กังวานศุภพันธ์. (2550). การศึกษาเปรียบต่างวรรณยุกต์ภาษาไทยระหว่างนักเรียนไทย เชื้อสายเขมรกับนักเรียนที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่: นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแกใหญ่และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไผทสมันต์จังหวัดสุรินทร์กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2561). หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสาร วิชาการศึกษาศาสตร์. 19 (2). เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม.
รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาและดำรง ไชยศรี. (2560). วิธีการสอนแบบโฟนิกส์. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 52. เดือนมิถุนายน.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (ออนไลน์). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565. จาก https://www. niets.or.th/th/catalog/view/3121
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). หนังสือคู่มือการดำเนินงานอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้. กรุงเทพฯ : ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : งานวิจัยและความท้าทาย. ม.ป.ท.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (ม.ป.ป.). สรุปเนื้อหางานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “10 ปีการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain -based Learning : BBL). ม.ป.ท.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทยความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.