การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาด้วยชุดเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ , สตีมศึกษา , หุ่นยนต์อัตโนมัติบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาด้วยชุดเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาด้วยชุดเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาด้วยชุดเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ 4) หาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาด้วยชุดเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมด้านเนื้อหาจำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมด้านเทคนิคและวิธีการจำนวน 3 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิธีหาอาสาสมัครเข้ารับการอบรมในงานวิจัยนี้จำนวน 7 คน โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ วันที่ 2-3 ตุลาคม 2564
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและวิธีการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.87, S.D. = 0.39) ความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.82, S.D. = 0.39) 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.33/82.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.63, S.D. = 0.55) สรุปได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสตีมศึกษาด้วยชุดเรียนรู้หุ่นยนต์อัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทราที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถนำไปใช้จริงได้
References
จิตติมา ปัญญาพิสิทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีการเรียนเป็นคู่ที่มีระบบเสริมศักยภาพผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ฐิติลักษณ์ วัฒนศิริ. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนการสอนตามแนว STEM ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). การพัฒนาหลักสูตร. ลพบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มาโนช แสงศิริ. (2561). Micro: bit ไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเรียนรู้ [ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2561. จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/8667-micro-bit.
วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). “STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก”. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 45 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2560) หน้า 320-334.
สุรพล บุญลือ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Kim, Yilip, & Park, Namje. (2012). Development and Application of STEAM Teaching Model Based on the Rube Gddbery’s Invention. Computer Science and its Applications Lecture Notes in Electrical Engineering. 203(1): 693-698.
Mataric, M. J., Koenig, N. P., & Feil-Seifer, D. (2007). Materials for Enabling Hands-On Robotics and STEM Education. In AAAI spring symposium: Semantic scientific knowledge integration (pp. 99-102).