การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจินตคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, รูปแบบการสอนแบบซิปปา, จินตคณิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจินตคณิต และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจินตคณิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการทดสอบที t (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15.50 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 7.75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนนซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยโดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจินตคณิต ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 อยู่ในระดับมากทุกข้อ
References
ตะวัน พันธุ์ชูศรี. (2555). จินตคณิต ลูกคิดญี่ปุ่น.[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 18 ธันวาคม 2565. จาก https://www.gotoknow.org/posts/ 415295
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
พรพิทักษ์ หมู่หัวนา. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรรณี วราอัศวปติ. (2555). ลูกคิดจินตนาการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 18 ธันวาคม 2565. จาก https://www.gotoknow.org/ posts/380047
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม:ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิสาเพ็ญ เรืองศรี. (2545). การคิดเลขเร็วด้วยลูกคิดญี่ปุ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 18 ธันวาคม 2565. จาก https://www.nectec.or.th/ schoolnet/ library/create-web/10000/ science/10000-4143.html.
ศศิพิมล อินธิแสง และแสงเดือน คงนาวัง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเวลาโดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 480-489.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). ทักษะและกระบวนการทาง คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
เสฎฐวุฒิ ไกรศรี และสมจิตรา เรืองศรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บทความวิจัย สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.