การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นกลุ่มรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • วรรณพรรณ โนนเภา นักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน, การเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เทคนิค KWDL, ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบแบ่งผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนแห่งนึ่งในกลุ่มเครือข่ายกบินทร์บุรี 5 อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เทคนิคการเลือกสุ่มตามโอกาส (ตามสะดวก) (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม และแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent)              ผลการศึกษาพบว่า 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.70 และ 21.50 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ทำให้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม พบว่า นักเรียนมีทักษะการทำงานกลุ่มก่อนเรียนและหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.75 และ 15.35 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน ทำให้คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560 ก). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560 ข). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

จรรยา หารพรม. (2560). การพัฒนาผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.เชียงใหม่นิวส์. (2564). ผลคะแนน NT นักเรียน ป.3 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สูงกว่าระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2564, จากhttps://www.chiangmainews. co.th/ page/archives/1336642/

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฏิภาณ ชาติวิวัฒนาการ. (2560). การศึกษาความ สามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10(2): 182-194.

ปิยะดา ลื่นกลาง พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ และวรรณพล พิมพะสาลี. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องอัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 2(2): 145-153.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน.

ลภัสรดา ภาราสิริสกุล. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). การนิเทศการสอน. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET) เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39): 262-279.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). การวิจัย PISA. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สุจิตรา แก้วหนองแสง และสิรินาถ จงกลกลาง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้การบวกการลบ การคูณทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารราชพฤกษ์, 14(2): 85-90.

อุษา จวนสูงเนิน และอิสรา พลนงค์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(3): 261-272.

Joyce, B. and Weil, M. (1996). Models of teaching. New Delhi :Prentice–Hall.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. New Jersey : Prentice - Hall.

Wadan, S. (1999). “The Effects of Student Team-Achievement Division on Mathematics Achievement in Yogyakata Rural Primary Schools (Indonesia),” Dissertation Abstracts International, 59(10): 3766-A.

เผยแพร่แล้ว

2023-07-02