การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยนวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวัฏจักร 5Es

ผู้แต่ง

  • วรายุทธ์ วงษ์สง่า สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ปริญญา เงินพลอย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การอ่านออกเสียง, บทร้อยกรอง, นวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิงในการเสริมทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง เรื่อง การอ่านบทร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิง ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวัฏจักร 5Es เรื่อง การอ่านบทร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยนวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิง ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวัฏจักร 5Es เรื่อง การอ่านบทร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิง เรื่อง การอ่านบทร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิงในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพนวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิง (E1/E2) การทดสอบหาค่าทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติค่าที (t-test)

                 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวัฏจักร 5Es เรื่อง การอ่านบทร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์ อยู่ที่ 82.53/86.05 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองของนักเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมสมาร์ตเลิร์นนิง อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}=4.58, S.D.=0.52)

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2535). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533).กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

________. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ขวัญจุฑา คำบันลือ. (2558). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556, มกราคม-มิถุนายน). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ธมนวรรณ เทาศิริ. และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2564, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Lawarath Social E-Journal, 3(3), 66-79.

นันทา ขุนภักดี. (2537). ลักษณะเฉพาะของการอ่านทานองเสนาะ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิรมิษ เพียรประเสริฐ และณมน จีรังสุวรรณ. (2559). Smart Classroom ห้องเรียนใหม่สู่ความท้าทาย ในศตวรรษที่ 21. พัฒนาเทคนิคการศึกษา, 28(97), 23.

ลิมิตเลส เอ็ดดูเคชั่น. (2565). Smart Learning จุดเปลี่ยนทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 22, 2565, จาก https://www.limitlesseducation.net/blended-learning/smart-learning-จุดเปลี่ยนทางการศึกษา

พรวิมล เสาะใส, และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านวิชาภาษาไทยด้วยนวัตกรรม Smart Learning เรื่องมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขุนน้ำคับ. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์–สังคมศาสตร์, 3(2), 12-26.

พร้อมเพื่อน จันทร์นวล. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม KAHOOT เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้วรรณคดีไทย, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุพิชญา ชูสกุล. (2563). ศึกษาสภาพปัญหาการอ่านบทอาขยาน เพื่อพัฒนาการอ่านบทอาขยาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 22, 2565, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=173491&bcat_id=14

สุรัตน์ ตุ้มเงิน. (2564). การพัฒนาการอ่านบทร้อยกรอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบ 5 STEPS. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 17, 2565, จากhttps://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=179546&bcat_id=16

Richey, R.C. (1986). The Theoretical and Conceptual Bases of Instructional Design. New York: Nichols.

Seels, B., and Glasgow, Z. (1990). Exercises in Instructional Technology. Columbus OH: Merrill Publishing Co.

เผยแพร่แล้ว

2023-07-02