การบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการ รายวิชาดนตรีในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล อะทาโส อาจารย์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ทินกร อัตไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, การบริการวิชาการ, ดนตรีในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการบูรณาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการรายวิชาดนตรีในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย การสังเกต และการสอบถาม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในแบบบูรณาการ การบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ให้บริการบูรณาการกับผู้รับบริการทางวิชาการและศิลปวัฒนธรรม นำเสนอในรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์

            ผลการวิจัยพบว่า พิณพาทย์เป็นวงดนตรีที่ประกอบไปด้วยกลุ่มเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเคาะ เครื่องเป่า และ เครื่องหนัง เป็นวัฒนธรรมดนตรีในราชสำนักของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พบความเชื่อมโยงกันของวัฒนธรรมดนตรีในประเทศต่าง ๆ อาทิ วงชงชาในสิบสองปันนา วงซายวายในพม่า วงพิณพาทย์ในลาว วงปี่พาทย์ในไทย และวงพิเพี๊ยด ในกัมพูชา ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันทั้งในด้านบทบาทหน้าที่ต่อราชสำนัก พิธีกรรมความเชื่อ และพระพุทธศาสนา ประกอบกับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนครพนม อยู่ในพื้นที่ของวัฒนธรรมล้านช้าง ทำให้ผู้วิจัยเลือกรายวิชาดนตรี  ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาใช้ในการสร้างการเรียนรู้ภาคปฏิบัติผ่านวงพิณพาทย์ สู่การบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการให้กับชุมชน สังคม ในรูปแบบวงพิณพาทย์พิธี สู่การถ่ายทอดให้กับชุมชนผ่านโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของชุมชน  ซึ่งการศึกษาความพึงพอใจของผู้ให้บริการบูรณาการกับผู้รับบริการวิชาการข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ระดับความพึงพอใจการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับ 4.51   ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับ 4.59 และความพึงพอใจของผู้รับบริการ อยู่ในระดับ 4.82 เพื่อเป็นแนวทางพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์ และเสริมสร้างสมรรถนะให้กับผู้เรียนในด้านทักษะการปฏิบัติ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กร คือ มหาวิทยาลัย ชุมชน วัด และโรงเรียน ให้เป็นไปตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยนครพนม

References

จิระวัฒน์ พิระสันต์ และวิรุณ ตั้งเจริญ. (2547). รายงานการเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น. พิษณุโลก: ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เฉลิมพล อะทาโส. (2563). แนวทางการในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พิณพาทย์หามแห่: ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม. วารสารพื้นถิ่น โขง ชี มูล. 6(1) 147-186.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2559). ดนตรีลาวเดิมยุคจินตนาการใหม่ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1986. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2562). แนวทางการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีลุ่มน้ำโขง. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 15(1) 27 – 44.

ชุดาสมร ดิเรกศิลป์. (2559). วงพิณพาทย์ข้าโอกาสพระธาตุพนม. วิทยานิพนธ์. ศศ.ม.(ดนตรี): มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิพย์อนงค์ เลื่อนพุควัฒน์. (2546). รูปแบบการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา. ปริญญา กศ.ด.(การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2556). ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยการวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(2) หน้า 1-5.

นิธิ สตะเวทิน. (2553). “ภาพ...วัฒนธรรมวิถีชีวิตของผู้คน” สารวัฒนธรรมราชมงคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มหาสิลา วีระวงส์. (2535). ประวัติศาสตร์ลาว. สมหมายเปรมจิตต์ แปล.เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ราชกิจจานุเบกษา. (2548). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548. เล่มที่ 112 ตอนที่ 75 ก.

เสาวลักษณ์ รัตนิพนธ์. (2560). “ความรู้เกี่ยวกับงานบริการวิชาการแก่สังคม”. สืบค้นจาก: http://chumphon2.mju.ac.th/km/?p=520

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2553). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 – 2565. http://www.mua.go.th/user/bpp/developplan/index.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27