การส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษาสำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรีเขต 1
คำสำคัญ:
นักเรียนชั้นอนุบาล2 , ความเชื่อมั่นในตนเอง , กิจกรรมนิทานหรรษาบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษา และเพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้น อนุบาล 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ นักเรียนชาย - หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนอนุบาลชลบุรี ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งหมด 33 คน ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษา จำนวน 18 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านความกล้าแสดงออก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษาหลังจัดกิจกรรม เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองที่สูงขึ้นสังเกตได้จากผลการประเมินจากแบบสังเกตรายข้อคือ เด็กมีการแสดงออกทางวาจา ทางท่าทาง ด้วยความมั่นใจ แสดงตัวเป็นอาสาสมัครในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นขณะทำกิจกรรม และแสดงออกทางความคิดเป็นตัวของตัวเอง โดยรวมผลคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.94 อยู่ในระดับดี และ 2) ผลคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองด้านการกล้าแสดงออกก่อนการทดลองของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 มีผลคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.79 ส่วนหลังการทดลองจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษามีผลคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.94 เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันพบว่าผลความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ได้การจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานหรรษา หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
References
นภาภรณ์ อินผลา. (2547). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานที่มีต่อทักษะการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลรัชนีบูล เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล จิ๋วแพ. (2549). ผลการเล่านิทานประกอบภาพที่มีต่อพฤติกรรมความเอื้อเฟื้อของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://backoffice. onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553).การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย (ปรับปรุงพุทธศักราช 2553). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.
สุภาพรรณ ศรีสุข. (2563). เกิดปัญหาอะไรบ้าง เมื่อลูกไม่กล้ำเข้าสังคม. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/80834/-blog-parpres-par สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566
สุริยา ฆ้องเสนาะ. ปฐมวัย : รากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/article/view/193740. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.