ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ESC02 การพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 5 ฉบับ โดยหาคุณภาพด้านความเที่ยงตรงด้วยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทุกฉบับ ได้ค่าความสอดคล้องระหว่าง .80-1.00 และหาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (α–Coefficient) ของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .80 - .85 สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษา ได้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 5 รายวิชา โดยมีองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และแผนระยะยาว และผลการประเมินความเหมาะสมหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 5 รายวิชา พบว่า
1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การพัฒนาทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.59)
2) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สร้างสรรค์ทรัพยากรท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ในชุมชน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.65)
3) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง STOP BULLYING โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.59)
4) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานประเพณีข้าวหลามดีหัวสำโรงโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.65)
5) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง มารยาทไทยหัวใจสาธิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (= 4.15, S.D. = 0.63)
References
กมลกัลย์ สตารัตน์ และ สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อ16201 ภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูด โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน สำราญ บุญเจริญ (บ.ก.). การวิจัยทางสุขภาพและการพัฒนาบริการเชิงพื้นที่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 9 ประจำปี 2565 (น.60-72). วิทยาลัยนครราชสีมา.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:
จตุรภุช ไพรสณฑ์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง อีสปอร์ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=61632233104.
ชนิตพร ทัศคร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การจัดสวนในภาชนะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ https://gsmis.snru.ac.th/ethesis/file_att1/2017120355421228105_cov.pdf
บุญรอด ชาติอานนท์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเน้นโครงงานเป็นฐานรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การลูกพืชไร้ดินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3566/1/RMUTT-161628.pdf
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). ทักษะ 7C ของครู 4.0 PLC & Log book. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2564). เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง ตัวอย่างกรณีศึกษา นวัตกรรมการศึกษาระดับหลักสูตรรายวิชา. ฉะเชิงเทรา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เอกสารอัดสำเนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. นนทบุรี: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561 นนทบุรี: เซ็นจูรี่ 21.
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
Cronbach, L. J. 1970. Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York.
Saylor, J. G., Alexander, W. M., & Lewis, A. J. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning (4th ed.). New York: Holt, Rinehart, & Winston.
Taba, H. (1962). Curriculum Development. New York: Harcourt. Brace &World.