ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • นันทพงษ์ เกสรศุกร์ โรงเรียนบ้านดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ( 7E ), สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) และสรุปบทเรียน ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการคิดวิเคราะห์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้ t-test

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การเสวนาการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก http://www.thigov.go.th/th/news-ministry.

กชกร ปรีสงค์.(2561). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2537). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ณัฏฐ์วณิชย์ ศรีจำนอง. (2556). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้าน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่.

ธัญชนก โหน่งกดหลด. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ม.1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน. ปริญญานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เผชิญ กิจระการ. (2545). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านดอนกลอย. (2564). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2564. อุดรธานี: โรงเรียนบ้านดอนกลอย.

พนมพร คำคูณ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พัชรี แก้วอาภรณ์. (2558). การสร้างชุดกิจกรรม เรื่อง พืชใกล้ตัวเรา โดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ยวนใจ ขาวซัง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทองโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง.

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อการสอน. ปทุมธานี : สภาพบุ๊กส์.

วรรณภา เสรีรักษ์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 7Es เรื่องสารในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2548). คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สินีนิตย์ เพชรศรีเงิน. (2563). รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดยานนาวา สำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงเรียนวัดยานนาวา.

สุรีย์พร นุแรมรัมย์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงชีวิตพืชโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อารียา เพ็ชรรัตน์. (2558). รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิต

ของพืช รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. โรงเรียนกำแพงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16.

Abdi. (2014). The Effect of Inquiry-based Learning Method on Students’ Academic Achievement in Science Course. Universal Journal of Educational Research, 2(1), pp.37-41.

Duran. (2016). The effect of the inquiry-based learning approach on student’s critical-thinking skills. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 12(12), 2887-2908. Doi: 10.12973/eurasia.2016.02311a

Eisenkraft, Arthur. (2003). “Expanding the 5-E Model: A Proposed 7-E Model Emphasizes “Transfer of Learning” and the Importance of Eliciting Prior Understanding.” The Science Teacher. 70, 6 (September): 56-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27