การประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพและส่งเสริมการสร้างรายได้ ให้แก่เยาวชนในวัยเรียนของสถานศึกษาในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • เยาวนาตร อินทร์สำเภา ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาเยาวนาตร
  • พรทิพย์ อ้นเกษม อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • จิราภรณ์ พจนาอารีย์วงศ์ อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • อังคณา กุลนภาดล อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ธนเทพ ศิริพัลลภ อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, ทักษะอาชีพ, รายได้, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุถประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่เยาวชนในวัยเรียนของสถานศึกษาในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาทักษะอาชีพและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่เยาวชนในวัยเรียนของสถานศึกษาในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ CIPP Model ตามประเด็น  4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 1) ประชากรที่ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของโครงการ จำนวน 9 โรงเรียนและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมจำนวน  90  คน 2) ประชากรที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับโครงการร่วมกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านบริบท   ด้านปัจจัยนำเข้า  และด้านกระบวนการ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content  Validity) ด้วยการวิเคราะห์หาค่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับประเด็นคำถามตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) จำนวน 5 คน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง .80 – 1.00  2) แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นแบบตรวจสอบรายการเพื่อประเมินโครงการด้านผลผลิตของโครงการ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ด้วยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับประเด็นคำถามตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .80 - 1.00  3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นคำถามเกี่ยวกับแนวทางการการพัฒนาโครงการโดยมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ด้วยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับประเด็นคำถามตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .80 - 1.00  พบว่า 1) ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่เยาวชนในวัยเรียนของสถานศึกษาในตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 4 ด้าน ได้แก่  ด้านบริบท  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15, 4.22 และ 4.14 ตามลำดับ ส่วนด้านผลผลิต มีผลผลิต เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดทุกข้อ 2) แนวทางในการพัฒนาโครงการสรุปได้ดังนี้  2.1) ด้านบริบท ควรมีการจัดโครงการที่เชื่อมโยงกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมมีความต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดความร่วมมือทุกภาคส่วน 2.2) ด้านปัจจัยนำเข้า ควรมีการนำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นต่อยอดสู่กระบวนการวิจัย ตลอดจนการทำผลงานของครูในอนาคต 2.3) ด้านกระบวนการ ควรหาแนวทางในการนิเทศเชิงรุกเพื่อต่อยอดการดำเนินการในการพัฒนาสูตรทักษะอาชีพนำหลักสูตรไปใช้จริง 2.4) ด้านผลผลิต ควรหาแนวทางที่หลากหลายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าที่พัฒนาขึ้น เพื่อสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/about/contact

กัญจน์ชญา ผ่องพุฒิ. ( 2561) การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลและครอบครัวทหารกองทัพบก ด้านการพัฒนากำลังพลและครอบครัวนายทหารชั้นประทวน กรมการทหารสื่อสาร. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Creator/personDc/151050

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2565). โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลดอนฉิมพลีแบบบูรณการ. การพัฒนาทักษะอาชีพและส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่เยาวชนในวัยเรียนสำหรับโรงเรียนในตำบลดอนฉิมพลี. ฉะเชิงเทรา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับนักเรียน. กลุ่มพัฒนาระบบการแนะแนวสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.สืบค้นจาก www.academic.obec.go.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสาวลักษณ์ แสนโรจน์. (2559). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมทรง สุภาพ. (มกราคม-เมษายน 2565) รูปแบบเพื่อประเมินหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 1-14 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/issue/view/842

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27