ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะ EF สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดรัฐบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ในสถานศึกษาสังกัดรัฐบาลในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทราจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดทักษะสมอง EF และชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 9 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ข้าวหลากสี 2) ไข่เจียวแสนอร่อย 3) ไอศกรีมหวานเย็น 4) ต้นไม้รอบตัวเรา 5) ใบไม้หลายสี 6) ผัก ผลไม้ของหนู 7) ก้อนหิน-เม็ดโฟม 8) ของใช้ของหนูๆ และ 9) บล็อกแสนสนุก แต่ละครั้งใช้เวลา 40 นาที 2.ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีค่าเท่ากับ 86.07/96.00 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาที่สังกัดหน่วยงานรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนคะแนนทักษะ EF ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง
References
กรรยา ภูวนารถ. (2555). การพัฒนากิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เกศแก้ว นาทองคำ และทัศนีย์ นาคุณทรง. (2565). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3). 979-991.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5(3). 7 – 20.
ฐาปณีย์ แสงสว่าง, ดารณี อุทัยรัตนกิจ, อรไท อ๊อกกังวาล, วีรมลล์ โล้เจริญรัตน์ และอัญชัญ โทนเดี่ยว (2563). การวิเคราะห์โพรไฟล์พฤติกรรมความสามารถคิดบริหารจัดการตนของนักเรียนที่มีภาวะออทิสติกสเปกตรัม. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 10(1). 109-122.
ตะวัน แวงโสธรณ์. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการให้อภัยของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1). 55 -70.
วชิรา ธานีรัตน์, นิธิพัฒน์ เมฆขจร และกันตวรรณ มีสมสาร. (2564). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 1-8.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย ใจซื่อตรง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกล วรเจริญศรี. (2559). จิตวิทยาสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
สุนิษา ภารตระศรี และชวนพิศ รักษาพวก. (2565). ผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(2), 353-368.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). คำอธิบายพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีเลฟเว่นสตาร์อินเตอร์เทรด.
อภิสรา พันจันดา, อัญชลี ไสยวรรณ และ พัชราภรณ์ พุทธิกุล. (2566). การพัฒนาการคิดเชิงบริหาร (Executive Function: EF) โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 12(1). 145-155.
Blair, C. (2016). Executive function and early childhood education. Current opinion in behavioral sciences, 10, 102-107.