การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • กีรติ นันทพงษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ณัฐนันท์ จุยคำวงศ์ ครูผู้สอน โรงเรียนกวดวิชาณัฐกนก
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน PC Model, การวิเคราะห์สาร, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ก่อนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 22 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model แบบวัดและประเมินผลความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยมีสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที  (t-test dependent) โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PCModel เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด   ( x̅ = 4.66, S.D. = 0.59)  2.  ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์สารอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนผู้เรียนมีความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅ = 21.73, S.D. = 1.52)  และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 36.27, S.D. = 1.10)  3. นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน PC Model อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( x̅ = 4.59, S.D. = 0.54)

References

กีรติ นันทพงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2561). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561. ฉะเชิงเทรา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์ และวัชรา เล่าเรียนดี. (2563). การออกแบบระบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: เอ็มดี ออล กราฟฟิก.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัฐวุฒิ สายันต์. (2564). การวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่าน. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1”. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก http://racha1-online.school/wp-content/uploads/2021/01/.pdf

บุบผา เมฆศรีทองคำ และดนุลดา จามจุรี. (2559). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ : วิถีทางในการสร้างพลังการรู้เท่าทันสื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564, จาก www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april.../pdf/aw8.pdf.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูโดยใช้กรณีตัวอย่างผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์, 14(2). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565, จาก https://edujournal.bsru.ac.th/storage/1419/05%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90-47-60.pdf

พริมรตา จันทรโชติกุล. (2565). การพัฒนาทักษะการรับสารเพื่อสร้างคุณลักษณะสำคัญสำหรับวิชาชีพทหารให้แก่นักเรียนนายเรืออากาศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 10(1). 5-19.

พิทยา สิทธิอำนวย. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการคิดและการตัดสินใจ. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ภิญโญ ช่างสาร. (2542). พินิจสารจากน้ำเสียง. วารสารดวงแก้ว. 45-54. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565, จาก

http://oservice.skru.ac.th/ebookft/607/chapter_4.pdf

ยมลภัทร ภัทรคุปต์. (2560). การฟังและการพูดเพื่อผลสัมฤทธิ์. อุตรดิตถ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วนิดา พรมเขต. (2559). การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565, จาก https://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18QeWd3134d98N32W487.pdf

ศุภลักษณ์ ทองจีน. (2560). การออกแบบและการจัดการเรียนรู้. บึงกาฬ : ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ศุภศิริ บุญประเวศ, ญานิศา โชติชื่น, รักษ์ศิริ ชุณหพันธรักษ์, สำเนียง ฟ้ากระจ่าง, และเบญจมาศ ดำรงศีล. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570. กรุงเทพฯ.

สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2544). การสร้างทีมงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ดี ดี บุ๊คสโตร์.

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2556). การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง. กรุงเทพฯ: ไอ.คิว.บุ๊คเซ็นเตอร์.

AbuSeileek, A. F. (2007). Cooperative vs. individual learning of oral skills in a CALL environment. Computer Assisted Language Learning, 20(5).

Ennis, R. H. (2011). The nature of critical thinking: An outline of critical thinking dispositions and abilities. Paper presented at the Sixth International Conference on Thinking, Cambridge, MA.

Scheibe, C., & Rogow, F. (2012). The Teacher's Guide to Media Literacy : Critical Thinking in a Multimedia World. Thousand Oaks, Calif: Corwin.

The national Council for Excellence in Critical Thinking. (2021). Critical Thinking. Retrieved November 10, 2022, from https://www.criticalthinking.org/pages/the-national-council-for-excellence-in-critical-thinking/406

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29