นวัตกรรมการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช ไสยกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ทิพาพร โพธิ์ศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • โอปอล์ รังสิมันตุชาติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • กมลฉัตร ศรีเจริญลาภ นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 27 คน ร่วมพัฒนาสื่อสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสนทนากลุ่มและแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์วิดีโอโดยใช้ค่าสถิติวิจัย วัดระดับความพึงพอใจของประชากรทั้งหมดด้วยมิวและซิกมา ผลวิจัยพบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ มีระดับความพึงพอใจ จากค่าเฉลี่ยประชากรรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 4.11 อยู่ในระดับมาก แบบที่ 1 สื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้วิถีท้องถิ่นตำบลข่อยสูง แบบที่ 2 สื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววัดข่อยสูง แบบที่ 3 สื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลข่อยสูง และกระบวนการสร้างและผลิตวิดีโอ 5 เทคนิควิธี 1) เทคนิคการถ่ายวิดีโอเพื่อการท่องเที่ยว (V-log) 2) เทคนิคการสร้างเรื่องราว บนวิดีโอ (story telling & story board) 3) เทคนิคในการใช้อุปกรณ์กล้องวิดีโอ 4) เทคนิคการสร้างและถ่ายวิดีโอ และ 5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวหรือสถานที่สำคัญในชุมชนจนสามารถถอดรูปแบบโมเดลในการพัฒนาข่อยสูง “KOISOONG” โดยผลจากกระบวนการมีส่วนร่วมและเทคนิคในการผลิตสื่อวิดีโอออกมาในเชิงนวัตกรรมข่อยสูง “KOISOONG” ดังนี้  K: Knowledge สร้างองค์ความรู้,  O: Opportunity มีโอกาสทำสิ่งใหม่ ๆ ด้านทักษะการสร้างสรรค์สื่อ, I: Innovation นวัตกรรมสื่อวิดีโอ, S: Social Technology สร้างสื่อสังคมออนไลน์, O: Organization การจัดการอย่างเป็นระบบ, O: Operation การปฏิบัติการ/ ลงมือปฏิบัติจริง, N: Network สร้างเครือข่ายชุมชน/ การประชาสัมพันธ์  และ G: Grow up ออกแบบนวัตกรรมสื่อใหม่ขึ้นมา

References

กฤติยา สมศิลา และกนกกานต์ แก้วนุช. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 12(1)

ข้อมูลทั่วไปองค์การบริหารส่วนตำบลข่อยสูง. (2559). ประวัติความเป็นมา.(ออนไลน์). แหล่งที่มา http://koisoong.localgov59.in.th/เกี่ยวกับหน่วยงาน/

ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์. (2566). การสร้างสรรค์และพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอปากบางพลี จังหวัดนครนายก ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ.

Phtanakhon Rajaphat Research Journal: Humannities and Social Science 18(1): 295-312.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2550. [พิมพ์ครั้งที่ 1]. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

สุภาวดี แซ่อุ้ย และศิริรัตน์ ดีสอน. (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีทางการศึกษา (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579).

โศรยา สิ่งชูวงศ์. (2546). วิวัฒนาการแหล่งท่องเที่ยวกรณี เกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Walsh, John. (2014). The Art of Storytelling: Easy Steps to Presenting an Unforgettable Story. Chicago: Moody Publishers.

Rodriguez, M. (2023). Brand Storytelling: Put Customers at the Heart of Your Brand Story. New York: Kogan Page.

Van Dijck, J. (2009). Users like you? Theorizing agency in user generated content. Media, Culture & Society 31(1): 41-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29