การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตบริการ ของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาถ ทนันชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบบริการสังคม, จิตบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมระดับจิตบริการของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ 2) ศึกษาคุณลักษณะด้านจิตบริการของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยเครื่องมือเชิงคุณภาพและเครื่องมือเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรการจัดการบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2565 และนักศึกษายินยอมเป็นกลุ่มตัวอย่างในการดำเนินการวิจัย จำนวน 105 คน คัดเลือกแบบอิงจุดมุ่งหมาย เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยเป็นประชากรที่เข้าถึงได้ทั้งหมด และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กรรมการบริหารหลักสูตรฯ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และเลขานุการหลักสูตรฯ จำนวน 9 ท่าน ใช้การเลือกตัวอย่างตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
มาเป็นตัวแทนในการตอบคำถามสัมภาษณ์ มีคุณลักษณะร่วมกัน คือ ประสบการณ์ในการสอนหรือทำงานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป เป็นอาจารย์ผู้สอนให้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยตรงไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา และสามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่ออธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพ  

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การเรียนรู้แบบบริการสังคมส่งเสริมระดับจิตบริการได้ในระดับมาก ( = 4.18) สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองและสังคม และการเรียนวิชาจิตบริการช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริการได้มีระดับการปฏิบัติจิตบริการในระดับดี คือ การมีน้ำใจต่อผู้อื่น และชอบช่วยเหลือผู้อื่นที่นอกเหนือจากหน้าที่ของตนเองได้ฝึกให้บริการสังคม การมีจิตอาสา และมีทัศนคติที่ดีต่อการบริการ มีการวางแผนระหว่างเตรียมกิจกรรมเพื่อให้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ รับฟังความคิดเห็น และทำงานเป็นทีม ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า จิตบริการ  มีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อนักศึกษาในปัจจุบันอย่างมากเป็นสิ่งที่นักศึกษาสามารถฝึกฝนพัฒนาตนเองได้  จิตบริการของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการฯ ในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรอบรู้ และกล้าแสดงออกการเรียนรู้แบบบริการสังคมเป็นกิจกรรมที่ดีเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสานระหว่างการเรียนรู้ทางวิชาการกับการบริการสังคม โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือสังคม คุณลักษณะด้านจิตบริการที่นักศึกษาหลักสูตรการจัดการฯ ปฏิบัติบ่อยครั้ง และมีการแสดงพฤติกรรมอย่างชัดเจน คือ ด้านการรับรู้ตนเอง ด้านการมีแรงจูงใจภายในตนเอง ด้านการมีทัศนคติเชิงบวก ด้านการตอบสนองจากการกระทำของตนเอง และด้านการดูแลเอาใจใส่ เสียสละต่อผู้อื่น

References

จุรี ทัพวงษ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมในการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วารสารการศึกษาและพัฒนา สังคม, 5(1-2), 67-80.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งท์.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2561). การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม: ทางเลือกหนึ่งในการรับใช้สังคมของ มหาวิทยาลัย. Suratthani Rajabhat Journal, 5(1), 1-32.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2564). กระบวนทัศน์ใหม่: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนสู่การ บริการสังคมสำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 62-78.

ตรีเพ็ชร อ่ำเมือง. (2553). คู่มือเทคนิคการให้บริการด้วยใจ. ในรายงานเลขานุการกิจและสภาคณาจารย์ กองบริการทั่วไป. สำนักงานคณบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ธัญญาพร ก่องขันธ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญและจิตอาสาโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบริการสังคม (Service learning): กรณีศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล สงคราม. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 16(73), 50-57.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการสังคมสำหรับนิสิตครู วิทยาศาสตร์. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(19), 30-39.

ปราณี อัศวภูษิตกุล. (2562). แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอน โดยการบริการสังคมในรายวิชา บ. 377 การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศ สำหรับผู้ใช้กลุ่มพิเศษ สาขาวิชา บรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารห้องสมุดสมาคม ห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 63(1), 58-73.

พัทธวรรณ ชูเลิศ, บุญตา สุขวดี และมนัสชนกฑ์ กุลพานิชย์. (2560). การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์กับนักศึกษาพยาบาล Generation Z. วารสารการพยาบาลการสาธารณะสุขและการศึกษา, 18(2), 28-34.

พิมพ์ณัฐ วัฒนสุคนธ์ และกังสดาล เชาว์วัฒนกุล. (2561). ภาพลักษณ์ขององค์กรและความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อจิตบริการของพนักงาน กรณีศึกษา พัทยา ดอลฟิน เวิล์ด. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 1(1), 729-740.

เพชรศรี นนท์ศิริ. (2563). การพัฒนากระบวนการบริการด้วยจิตบริการแบบไทยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และจิตบริการ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 15(2), 148-164.

รัชนี สิทธิศักดิ์. (2561). การเรียนรู้ผ่านโครงงานบริการชุมชน Learning through community service projects. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si ThammaratRajabhat University, 10(s), 146-157.

รุ่งโรจน์ หวังชม และประสงค์ สายหงส์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(2), 699-713.

Bernacki PhD, M. L., & Jaeger, E. A. (2008). The impact of service learning on moral development and moral orientation. Michigan Journal of Community Service-Learning, 14(2), 5.

Celio, C. I., Durlak, J., & Dymnicki, A. (2011). A meta-analysis of the impact of service-learning on students. Journal of experiential education, 34(2), 164-181.

Groh, C. J., Stallwood, L. G., & Daniels, J. J. (2011). Service-learning in nursing education: Its impact on leadership and social justice. Nursing education perspectives, 32(6), 400-405.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29