การบริหารจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การบริหารการจัดการเลือกตั้ง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์ขึ้นโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมทางการเมือง Verba & Kim (1978), Lazarsfeid, Berelson & Gaudet (1968), สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2547) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา นำมาคำนวนหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีคำนวนสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง จำนวน 20 คน เครื่องมือได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ นำไปหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .85 และนำข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สรุปตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สรุปตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าRสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของตัวแปรอิสระทั้งหมดในสมการกับตัวแปรตาม และวิเคราะห์ข้อมูลถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการจัดการ ด้านประสิทธิภาพการทำงาน ด้านการอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความโน้มเอียงต่อปัจจัยในระบบการเมือง ด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านความโปร่งใส ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการยอมรับและเชื่อมั่นในความสามารถของบุคลากร ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ด้านสถานะทางสังคม ด้านการได้รับผลประโยชน์ ด้านสิ่งเร้าทางการเมือง ด้านการวางแผน และด้านการร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) การบริหารจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พบว่าปัจจัยที่ 15 ตัว มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้ร้อยละ 47.30 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กัญญารินทร์ อินทรัพย์. (2557). บทบาทสตรีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.
ธีรยุทธ บุญมี. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย.สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีรพงษ์ เสือเพชร. (2561). สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบล อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2554). สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนสถาบันบรมราชนก. (2559). วิถีประชาธิปไตย. กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง. (2566). รายงานการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.)
สุจิต บุญบงการ และพรศักด์ ผ่องแผ้ว. (2547). คุณลักษณะของความผูกพันพรรคการเมือง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สายชล เมฆวนิชย์. (2558). ปัจจัยต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี.
สุวภัทร บุญปลูก. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การปกครองส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี.
อัมรินทร์ นาคณัฐเศรษฐ์. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี. ชื่อ รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 4 การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา: เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 หน้าที่ 10: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hall Book Company.
Lazarsfeld, Bernard Berelson & Hazel Gaudet. (1968). The People‘s Choice: How the Voter Makes Up His Mind in a Presidential Campaign. New York: Columbia University Press,
Verba & Kim. (1978). Participation and Political Equality: A Seven Nation Comparison. Cambridge: Cambridge University Press.
Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.