การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 225 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ตารางการประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศต่างกันต่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม มีการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกัน
3. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันต่อการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้าน มีการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธนาภรณ์ จันทร์เกษม. (2561). การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
มาหะมะบาคอรี มาซอ. (2564). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566, จาก http://www.onec.go.th
หิรัญญา วิจิตรสมบัติ. (2561). ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการประกันคุณภาพภายในด้านคุณภาพผู้เรียนของเด็กปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
Henry Scheffe. (1959). The Analysis of Variance. New York: Wiley.
Cronbach LJ. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.