การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชันสื่อการเรียน, อุปกรณ์เคลื่อนที่, Glide Appบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องและความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้น ปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล ตามรูปแบบ ADDIE Model เริ่มจากขั้นการวิเคราะห์ (A: Analysis) ขั้นออกแบบ (D: Design) ขั้นการพัฒนา (D: Development) ขั้นนำไปใช้ (I: Implementation) และขั้นประเมินผล (E: Evaluation) ภายหลังการพัฒนาตามขั้นตอนดังกล่าวสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งหน้าแรกของแอปพลิเคชันประกอบไปด้วย หน้ายินดีต้อนรับเข้าสู่รายวิชา คำอธิบายรายวิชาและคำชี้แจงการใช้งาน ปุ่มเมนูนำทางไปยังหน้าต่าง ๆ และเพลงประกอบแอปพลิเคชัน หน้าที่สองหน้าเนื้อหาที่ หน้าที่สามแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนและหน้าที่สี่หน้าแบบสอบถามความพึงพอใจ 2) การวิเคราะห์ความสอดคล้องและความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ ภาพรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84, S.D. = .37) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชากฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.79, S.D. = .06)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2567). นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567–2568. กระทรวงศึกษาธิการ.
คณิศร จี้กระโทก. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟน เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 5(2). 404-418.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2565). คลังนวัตกรรมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง Glide Application. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567. จาก https://eduvator.lpru.ac.th/glide-application/
ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์, ศรัณยู บุตรโคตร และอิทธิชัย อินลุเพท. (2565). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 12(2). 298-312.
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
รุ่งฟ้า ทัพวงษ์, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล, และวัตสาตรี ดิถียนต์. (2564). การพัฒนาคอร์สแวร์แอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนรู้ แบบผสมผสานและ การเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติด้านการสร้างสื่อดิจิทัลสำหรับนิสิตครู. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 31(6). 108-117
รุจโรจน์ แก้วอุไร และ ศรัณยู หมื่นเดช. (2561). เรียนรู้เรื่องการศึกษาในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567. จาก https://hooahz.wordpress.com/category/เทคโนโลยีและสื่อสารการ/
สุไม บิลไบ. (2557). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model. เอกสารประกอบการสอนนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. จาก https://drsumaibinbai.wordpress.com/wp-content/uploads/2014/12/addie_design_sumai.pdf.
สวียา สุรมณี และ รุ้งนภาพร ภูชาดา. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตเรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 2(1). 53-60.
McGriff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Design Models. 226(14): 1-2.