การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ชญาภัสก์ แก้วประชุม ครู วิทยฐานะครูชำนาญพิเศษ, โรงเรียนเทศบาล ๑ (สังขวิทย์) จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, สมองเป็นฐาน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การอ่าน, การเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้, และ 3) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจที่มีต่อการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D)  โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 26 คน ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง ที่ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง Pre-Experimental Design มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Single Group Pretest – Posttest Design) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test dependent)

   ผลการวิจัยพบว่า  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นให้ชื่อว่า 3P3K Model มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ, วัตถุประสงค์, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การวัดและประเมินผล, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้  1) ขั้นเตรียมผู้เรียน (Preparation, P1) 2) ขั้นเสริมสร้างความรู้ (Providing the Knowledge, P2) 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practicing, P3)  4) ขั้นตรวจสอบความรู้ (Knowledge checking, K1) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ (Knowledge applying, K2) และ 6) ขั้นสรุปความรู้ (Knowledge summarizing, K3) โดยมีระดับคุณภาพของค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (x̅ = 4.34, S.D. = 0.62)   2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่าคะแนนเฉลี่ยในการอ่านและการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความสามารถในการอ่านและการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยความสามารถในการอ่านก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ (x̅ = 20.51) และหลังเรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม (x̅ = 32.33) และความสามารถในการเขียนก่อนเรียนอยู่ในระดับปรังปรุง (x̅ = 9.58) และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 15.88)  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.27 , S.D. = 0.77) โดยมีครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ การทำงานร่วมกันอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.59, S.D. = 0.56) รองลงมาคือนักเรียนชอบเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.56, S.D. = 0.66)

References

กรรณิการ์ อักษรนิตย์. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: การศึกษา.

กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์ และวัชรา เล่าเรียนดี. (2563). การออกแบบระบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุติพร เวฬุวรรณ. (2559). รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) ประกอบแบบฝึกทักษะอ่านเขียนเรียนภาษาราชาธิราช กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ขอนแก่น : โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น.

จุฬาลักษณ์ นิลสาขา. (2558). ผลการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน คำยาก ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม.

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2561). จิตวิทยาการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร. (2560). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1511

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรารัตน์ ไกรสีขาว, และประภาษ เพ็งพุ่ม. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(35). 63-71.

นิตยา เชื้อดวงผูย. (2557). ผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการจัดกิจกรรมตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเรื่องการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประไทย ศุภวิทยาเจริญกุล, ประยูร บุญใช้, และภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(17). 189-202.

ประยงค์ ชูรักษ์. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3). 1095-1108.

พรทิพย์ รัตนเจริญสุข. (2561). บทบาทของทักษะการอ่านและการเขียนต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: วิชาการ.

พรพิไล เลิศวิชา. (2559). สมองเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมอัจริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้.

เพ็ญพิศ ฉายอำไพ. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านสะกดคำ ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กาฬสินธุ์ : โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์.

มารุต พัฒผล. (2567). พิมพ์เขียวการพัฒนาหัวข้อการวิจัยนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราตรี เพรียวพานิช. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ในการออกแบบจัดการเรียนการสอน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 2(1), 5-16.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2563). การอ่านจับใจความ ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

ศิริรัตน์ ทวีชัย. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนในวัยเรียน: แนวทางและวิธีการ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันวิทยาการเรียนรู้. (2558). การสอนแบบ Brain-based Learning. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

สมเจตน์ พันธ์พรม. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน และการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนาพริ้นติ้ง.

สุทธินี ศรเพชร, และวัฒนา สุวรรณไตรย์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้หนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(13). 135-146.

สุรางค์ วิภาทิวาภรณ์. (2563). ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. มุกดาหาร: ครูบ้านนอก.

อังคณา เปียผ่อง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. เพชรบุรี : โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส เทศบาลเมืองเพชรบุรี.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Caine and Caine. (2002). Understanding a Brain-Based Approach to Learning and Teaching. New York: F.E.Peacock.

Eric Jensen. (2008). Brain-based Learning : the new paradigm of teaching. California : Thousand Oaks.

Fu, Q.-K., & Hwang, G.-J. (2020). Trends in mobile technology-supported collaborative learning: A systematic review of journal publications from 2007 to 2016. Educational Technology Research and Development, 68(4), 1811–1830. https://doi.org/10.1007/s11423-020-09786-1

Gagne, R. M., Wager, W. W., Golas, K. C., & Keller, J. M. (2005). Principles of instructional design (5th ed.). Connecticut: Thomson Wadsworth.

Johnson, D.W. and Johnson, F.P. (1994 ). An Overview of Cooperative learning. Baltimore, Maryland: Pual H. Brooks Publishing Co.

National Center on Improving Literacy. (2023). Important Pieces of School-Based Intervention for Students at Risk for Dyslexia: Evidence from 40 Years. Improving Literacy. https://www.improvingliteracy.org/brief/important-pieces- school-based-intervention-students- or-risk-dyslexia-evidence-40-years/index.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31