การพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน), ใช้เกมเป็นฐาน, นักเรียนชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ให้สูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง สัทอักษรจีน (พินอิน) 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน ตามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) นักเรียนมีทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรจีน (พินอิน) โดยใช้เกมเป็นฐานอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.65) จากผลการวิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำหลักการของเกมไปบูรณาการใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุณฑิกา พัชรชานนท์ และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2556). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 439/2556 แผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ (เฉพาะภาษาจีน). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ตุลยนุสรญ์ สุภาษา และฉี เสวียหง. (2560). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 8 (1), 115-124.
ทิศนา แขมมณี. (2543). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจา คงสบาย. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะและเกม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เบญจอาภา พิเศษสกุลวงศ์. (2559). การศึกษาปัญหาการออกเสียงสัทอักษรจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 5 (1), 82-90.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
เยาวพา เดชคุปต์. (2528). กิจกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์.
รัฐพร ศิริพันธุ์. (2561). แนวทางการเตรียมความพร้อมและวิธีการเรียนสำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5 (1), 103-112.
วรรณพร ศิลาขาว. (2539). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาองกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีเกมและไม่มีเกมประกอบการสอน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สิริวรรณ ใจกระเสน จันตรี คุปตะวาทิน และจินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดลำพูน. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2, 1-8.
สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง. (2562). การศึกษาข้อผิดพลาดในการอ่านออกเสียงสัทอักษรภาษาจีนกลางของผู้เรียนชาวไทย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ, 1 กันยายน 2562, 373-386.
อังคณา ลังกาวงศ์. (2552). ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยเสริมเกมวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาศรมสยาม-จีนวิทยา. (2565). สืบค้นจาก https://www.arsomsiam.com/pinyin/
Becta. (2001). Computer games in education project. report. United Kingdom.
Bestkru. (2023). สืบค้นจาก https://bestkru.com/blog/อักษรภาษาจีน
Maria Klawe et al. (1995). A Classroom Study : Electronic Games Engage Children as Researcher. CSCL '95 Proceedings.
Mellander, K. (1993). The power of learning. United States of America: RR Donnelley & Sons Company.
Oblinger, Diana G. (2006). Games and Learning. EDUCAUSE Quarterly, 3 (29), 5-7.
Sedighian, K. and Klawe, M.M. (1996). An interface strategy for promoting reflective cognition in children. Research paper. Canada: University of British Columbia.