การพัฒนาชุดการจัดกิจกรรม คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของครูปฐมวัย ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ปั้นเกิด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สุรสา จันทนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมคำคล้องจอง, เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย,ทักษะสมอง อีเอฟ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการจัดกิจกรรม คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของครูปฐมวัย ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดจัดกิจกรรม คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของครูปฐมวัย ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของครูปฐมวัย ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ ครูปฐมวัย ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างจากโดยใช้วิธีอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมคำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t-test) และการหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)

            ผลการวิจัยพบว่า  1. ชุดการจัดกิจกรรม คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.40/87.40 ตามเกณฑ์การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ  2. คะแนนผลการใช้ชุดกิจกรรมคำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย ก่อนทดสอบ มีค่าเฉลี่ย 16.48 และหลังทดสอบ มีค่าเฉลี่ย 17.48  3. การเปรียบเทียบคะแนนผลการใช้ชุดกิจกรรม คำคล้องจอง ดนตรีและเพลงประกอบการเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมทักษะสมอง อี เอฟ ของเด็กปฐมวัย พบว่า คะแนนหลังการทดสอบสูงกว่าคะแนนก่อนการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กมลรัตน์ คนองเดช, สุนิศา ธรรมบัญชา, อาทิตยา วงศ์มณี, เสาวลักษณ์ สมวงษ์ และนวพร แซ่เลื่อง. (2563). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อและของเล่นที่มีต่อทักษะ EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู เขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. : วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ชุดการสอนรายบุคคล ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการศึกษาพัฒนสรร หน่วยที่ 4. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ฝึก EF พัฒนาสมองลูกน้อย. กรุงเทพฯ : สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการบริหารการศึกษากรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

สุนิษา ภารตระศรี และชวนพิศ รักษาพวก. (2565). ผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(2), 353-368.

สุพัตรา นพสาย. (2560). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาพร ทองสาดี. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารด้านการยับยั้งควบคุมตนเองและด้านความจำขณะทำงานของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงสมาธิสั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภาวดี หาญเมธี. (2558). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้านการอ่าน. กรุงเทพฯ : บริษัท ไอดีออล ดิจิตอลพริ้นท์จํากัด

วนิดา รุ่งโยธิน. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา

เอกชัย เชียงคำ และสืบสกุล นรินทรางกูล ณ อยุธยา. (2567). แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของครู. คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรพรรณ สุวรรณบุตร. (2566). นวัตกรรมการศึกษาที่เป็นเลิศ( Best Practice) เพลงจ้าเพลง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Suppalarkbunlue, W., Chutabhakdikul, N., Lertladaluck, K., & Moriguchi, Y. (2565). Promoting Inhibitory Control in Preschool Children Through Music-Movement Activities in the Classroom. Journal of Research in Childhood Education, 37(2), 275-291. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2567. จาก https://doi.org/10.1080/02568543.2022.2111482

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31