การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาครูสังคมศึกษาด้วยกระบวนการจิตปัญญาศึกษา
คำสำคัญ:
ความเป็นพี่เลี้ยง, นักศึกษาครูสังคมศึกษา, จิตปัญญาศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาครูสังคมศึกษาด้วยกระบวนการจิตปัญญาศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมโฮมรูมด้วยจิตปัญญาศึกษา และแบบประเมินความเป็นพี่เลี้ยง
ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยงด้วยกระบวนการจิตปัญญาศึกษาโดยการฝึกปฏิบัติกิจกรรมโฮมรูมที่บูรณาการกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษาในสถานศึกษาจริงตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงชั้นปีที่ 4 การแสดงออกคุณลักษณะความเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาครูสังคมศึกษาที่แสดงออกมาทั้ง 5 ด้านคือ ด้านความรับผิดชอบ การแก้ไขปัญหา การสื่อสารและการให้คำปรึกษา การทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านการวางแผนและการจัดกิจกรรม หลังจากที่ผ่านการฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาแต่ละชั้นปีแล้ว มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเริ่มต้นในชั้นปีที่ 1 ระดับความเป็นพี่เลี้ยงแสดงออกอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.49) เมื่อผ่านการฝึกในชั้นปีที่ 2 และ 3 ระดับความเป็นพี่เลี้ยงแสดงออกในระดับที่มาก (x̄ = 4.07 และ x̄ = 4.32) และระดับความเป็นพี่เลี้ยงเพิ่มขึ้นอยู่ใน ถึงมากที่สุด (x̄ = 4.55) เมื่อจบการศึกษาในชั้นปีที่ 4
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญาตรีสาขาคุรุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ
ธนกฤต อั้งน้อย และอนุชา กอนพ่อง. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(2), 169-180.
ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(1), 7-11.
พูลศักดิ์ หอมสมบัติ, สุพจน์ ตปสีโล, บรรยวัสถ์ ฝางคำ, สุพิมล ศรรักษา และวินัยธรพยัคอรุณ ปัญญาพโล. (2565). สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 7(3), 257-272.
ลินดา นาคโปย, วิทยา เต่าสา, สุทธิษา สมนา, พรทิพย์ อ้นเกษม และธิดารัตน์ อธิปัญจพงษ์. (2562). โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตครูคุณภาพฐานสมรรถนะตามแนวทาง การบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐานคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วณิดา ยาณรักษา, ชวลิต สูงใหญ่ และธีรเชษฐ์ เรืองสุขอนันต์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่เน้นการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูนานาชาติ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 22(2), 167-187.
วิเชียร ไชยบัง. (2560). โรงเรียนนอกกะลา (ภาคปาฏิหาริย์). พิมพ์ครั้งที่ 17. บุรีรัมย์: สำนักพิมพ์ เรียนนอกกะลา.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัลมาจล.
สุรยศ ทรัพย์ประกอบ, เจนศึก โพธิศาสตร์ และประธาน ประจวบโชค. (2565). การพัฒนารูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 15(2), 161-175.
Carla Wilson. (2021). A Contemplative Pedagogy: The Practice of Presence When the Present is Overwhelming. Journal of Transformative Learning. 8(1), 52-62. https://jotl.uco.edu/index.php/jotl/article/view/432
Julia Reeve, Ruth Jindal, Craig Bartle and Neil Stokes. (2021). Using creative and contemplative pedagogy to promote learning efficacy and wellbeing within first-year, undergraduate students. Gateway Papers. 2(1), 1–12. DOI: https://doi.org/10.3943/gp.34
Valerie Bonnardel, Terry Biddington, Brandon May, Rhiannon Jones and Simon Roffey. (2018). Toward the implementation of contemplative practices in higher education. Journal of Perspectives in Applied Academic Practice. 6(3), 3-13. https://doi.org/10.14297/jpaap.v6i3.362