แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดนตรีของ โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Thiti Panyain

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดนตรี ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ ประชากรคือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา จำนวน 2 คน  ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (focus group)


            ผลการวิจัยพบว่า


          แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนดนตรีของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ  ด้านหลักสูตรควรจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนควรเน้นเรื่องการสร้างสุนทรียภาพด้านดนตรี มากกว่าการเน้นเรื่องหลักการทฤษฎี ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ควรมีห้องเรียนดนตรีให้มีความเหมาะสมเป็นเอกเทศ สามารถเก็บเสียงได้ พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้เรียบร้อย ด้านสื่อการเรียนการสอน การควรจัดหาสื่อหรือผลิตสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีรูปแบบและเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร สัจภาพพิชิต และดนีญา อุทัยสุข. (2558, กรกฎาคม - ธันวาคม). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยใช้เพลงและ

นิทานในการบูรณาการมาตรฐานการเรียนรู้สาระดนตรีเพื่อสร้างเสริมคุณธรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้น

ประถมศึกษาตอนต้น. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 19 (ฉบับที่ 1) : 38.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

ณรงค์ฤทธิ์ หามนตรี. (2560). การศึกษาสภาพการสอนวิชาดนตรีของผู้สอนในโรงเรียนสังกัด

องค์การบริหารส่วนตาบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

. (2538). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พรรณีพริ้นดิ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

นันทวรรณ หัสดี. (2556). ความต้องการอาคารสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนคนตรีของ

ครูดนตรีโครงการโรงเรียนหลักสูตรการคนศรีกรุงเทพมหานคร .วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.

(ดนตรี) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บงกช ใหญ่วงศ์. (2555 ). การส่งเสริมกิจกรรมดนตรีนักเรียนของโรงเรียนสังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลนครลำปาง.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ประยูร กิ่งมณี. (2553). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการสอนดนตรีของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

มนัสพงศ์ ภูบาลชื่น. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง คนตรีพื้นบ้านอีสาน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวความคิดของโซลตาน โคดาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วินัย ท้าวขุนทอง. (2547). ได้ศึกษาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทาง

การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

สุกรี เจริญสุข. (15-17 กรกฏาคม 2545). “วิสัยทัศย์ปรัชญา แนวคิดของสาระดนตรีเด็กไทยได้

เรียนได้รู้ได้เล่นได้รู้และรักดนตรี”. มติชนสุดสัปดาห์.

สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2554). การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่

– 6. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทางด้านดนตรีใน

ศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.