การวิจัย กระบวนการฝึกซ้อมและการจัดรูปแบบวงขับร้องประสานเสียง ของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

Mr.Nattharhaphing Phaengpheng

บทคัดย่อ

การวิจัยรูปแบบวงขับร้องประสานเสียงครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา


กระบวนการฝึกซ้อมและการจัดรูปแบบของวงขับร้องประสานเสียงจากโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  โดยได้คัดเลือกจากโรงเรียนที่มีผลการแข่งขันระดับเหรียญทองในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระหว่างปีการศึกษา 2561 – 2563 ได้แก่ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย โรงเรียนเลยพิทยาคม และโรงเรียนบรบือวิทยาคาร


                        ผลการศึกษาสรุปได้ว่า


  1. จากการศึกษาสรุปได้ว่ากระบวนการฝึกซ้อมวงขับร้องประสานเสียง ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ได้เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนวิชาดนตรี ชั่วโมงของกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ กิจกรรมชุมนุม ที่สามารถนำนักเรียนฝึกซ้อมและทำกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกซ้อมวงขับร้องประสานเสียงได้ เช่น การคัดเลือกนักร้อง การแยกเสียงร้องตามแนวเสียงต่าง ๆ รูปแบบตำแหน่งการยืนภายในวง เป็นต้น ซึ่งการฝึกซ้อมนั้นจะทำได้ในวันจันทร์ – ศุกร์ โดยใช้เวลาช่วงกิจกรรมหน้าเสาธง ที่ได้ขออนุญาตทางโรงเรียนนำนักเรียนวงขับร้องประสานเสียงฝึกซ้อมในช่วงเวลานี้ มีการฝึกซ้อมในช่วงพักเที่ยง และช่วงเวลาหลังเลิกโรงเรียนของนักเรียนที่สามารถฝึกซ้อมร่วมกับวงได้ ซึ่งถือเป็นการฝึกซ้อมโดยปกติของวงขับร้องประสานเสียง และมีการฝึกซ้อมในช่วงก่อนการประกวดที่จะต้องมีการฝึกซ้อม     ที่เข้มข้นมากขึ้น โดยการเข้าค่ายฝึกซ้อมก่อนการประกวดทั้งระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับชาติ ไม่น้อยกว่า 1 เดือน รวมถึงระดับนานาชาติ ที่จำเป็นจะต้องเข้าค่ายเตรียมความพร้อมไม่น้อยกว่า 6 เดือน

  2. รูปแบบการจัดตำแหน่งที่ใช้ในการขับร้องประกอบด้วยแนวเสียงดังนี้

               - โซปราโน (Soprano)        คือ ช่วงเสียงของผู้หญิงเสียงสูง


                                                - อัลโต (Alto)                   คือ ช่วงเสียงของผู้หญิงเสียงต่ำ


                                                - เทเนอร์ (Tenor)              คือ ช่วงเสียงของผู้ชายเสียงสูง


                                                - เบส (Bass)                    คือ ช่วงเสียงของผู้ชายเสียงต่ำ


ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีวิธีการจัดรูปแบบตามความเหมาะสมของวงและตามลักษณะที่กำหนดมาในบทเพลง โดยจะยืนเป็น


ครึ่งวงกลมซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ทั่วไปในวงขับร้องประสานเสียง แต่จะมีการสลับตำแหน่งสมาชิกในกลุ่มเสียงตามความเหมาะสมของบทเพลงหรือตามลักษณะของบทเพลงที่ผู้ประพันธ์บทเพลงได้กำหนด ซึ่งได้ใช้รูปแบบตำแหน่งการยืนเพียงรูปแบบเดียวทั้งการฝึกซ้อมและการประกวด เพื่อที่จะไม่ให้นักเรียนสับสนในตำแหน่งการยืนและแนวเสียงในแต่ละแนว    


เกิดความแม่นยำในการขับร้อง และสามารถประคับประคองสมาชิกในแนวเสียงนั้นๆ ให้ขับร้องตามแนวเสียงขับร้องของตนเองได้ถูกต้องและแม่นยำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธวัชชัย นาควงษ์. (2542). การสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวของ คาร์ล ออร์ฟ (Orff - Schulwerk). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิ่นศิริ ศิริปิ่น. (2551) ร้องเพลง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ก.พล(1996).

วณี ลัดดากลม. (2542). การศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกขับร้องประสานเสียง ในรายวิชา MSID

มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

BRENDA, K. S F. (2008). A Choral conductor’s reference guide to acoustics choral music measurement: 1885 to 2007. Doctoral Dissertation, Retrieved 23 June 2008 from ProQuest Dissertation & Theses databases, Publication No. 3348486.

Fiona King. (2018). Music Activities Delivered by Primary School Generalist Teachers in Victoria : Informing Teaching Practice. RMIT University .Melbourne, Australia,