การสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์ : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลง และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การจัดการเรียนการสอนจำเป็นที่จะต้องสร้าง และส่งเสริมประสบการณ์จริง รวมถึงเน้นความคิดที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนสามารถก้าวเข้าสู่สังคมโลกศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นรากฐานที่จะสามารถเพิ่มหรือพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ และยกระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศให้มีคุณภาพ การกระตุ้นผู้เรียนที่อายุยังน้อยจะง่ายต่อการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ การสร้างคุณลักษณะให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์รู้จักพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่เสมอตามสภาพแวดล้อมของสังคม ให้เป็นผู้ที่กล้าที่จะแสดงออกทางความคิด มีความไวต่อการแก้ไขปัญหา อันเกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้รอบตัวของแต่ละบุคคลมาเป็นรากฐาน ผู้เขียนจึงนำดนตรีมาใช้ในการเรียนรู้เพื่อช่วยฝึกทักษะ และเจตคติ ที่เน้นให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม ทั้งยังคำนึงถึงความเหมาะสมตามวัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยการนำรูปแบบวิธีการสอนของซูซูกิมาประยุกต์ใช้คู่กับการสอนเนื้อหา และการทำกิจกรรมดนตรี เพื่อสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียน มี 5 ขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นละลายพฤติกรรม นำเข้าสู่บทเรียน ไปสู่วิธีการสอนตามแนวคิดของซูซูกิ 4 ขั้นตอน ต่อด้วยแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะให้นักเรียนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด ส่งผลให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมบ่งชี้ 3 ด้าน คือ ด้านพุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เมื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนสามารถแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ความคิดริเริ่ม 2) ความคิดคล่องตัว 3) ความคิดยืดหยุ่น และ4) ความคิดละเอียดลออ หลังจากนั้นสรุป ประเมิน และกล่าวชื่นชม เน้นย้ำความคิดที่หลากหลายของนักเรียน เพื่อให้เกิดความจำจนกระทั่งสามารถนำไปต่อยอดทางความคิดหรือก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่นในสังคมต่อไป
Article Details
References
กฤษณา วาทโยธา. (2562, มีนาคม-เมษายน). ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิชาการ Veridian E-Journa มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(2), 501-502.
กมล โพธิเย็น. (2562, มกราคม-มิถุนายน). ความคิดสร้างสรรค์: พรสวรรค์ที่ครูควรสรรค์สร้างให้ผู้เรียน. ศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1), 10.
ปรมะ แขวงเมือง. (2561, มกราคม-เมษายน). ผลการใช้นวัตกรรมเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ และการคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 176-177.
ยุทธนา ทรัพย์เจริญ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรี และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วาสนา สาระจันทร์. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรี และทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วิโรจน์ ปะรัมย์. (2561). ผลการใช้กิจกรรมเพลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง - พูดภาษาอังกฤษ และความรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
เหนือดวง พูลเพิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของซูซูกิร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการขับร้อง และความสามารถในการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อภิชาติ เนินพรหม. (2559). การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Guilford, J. P. (1973). Characteristics of Creativity. Springfield, USA: Illinois State Office of the Superintendeny of Public.
Hahm, J., Kim, K. K. & Park, S. H. (2019). Cortical Correlates of Creative Thinking Assessed by the Figural Torrance Test of Creative Thinking. South Holland, Netherlands: Wolters Kluwer Health, Inc.
Hallam, S. (2015). The Power of Music. Britain England: iMerc.
Kim, K. H. (2017, January). The Torrance Tests of Creative Thinking - Figural or Verbal: Which One Should We Use?. De Gruyter, 4(2), 304.
Shaughnessy, M. F. & Torrance, E. P. (1998, December). An Interview with E. Paul Torrance: About Creativity. Educational Psychology, 10(4), 442-446.
Torrance, E. P. (1993). Understanding Creativity: Where to Start?. Psychological Inquiry, 4(3), 232.