การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ ถาวรจิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2021.3

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, ส่วนประสมการตลาดบริการ, อาหารเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

       การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการกับพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และเพื่อเสนอเป็นแนวทางในการเปิดธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต่อไป เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบ ถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ที่ใช้บริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยไค-สแควร์

        ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการมีความสัมพันธ์กับผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคลากร กระบวนการ และลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. (2020). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.

จักรินทร์ สันติรัตนภักดี และธนกร ลิ้มศรัณย์. (2562). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง กรณีศึกษา : เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2),120-143.

จรรยา วังนิยม, นรภัทร สถานสถิต และสุพาพร ลอยวัฒนากุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2) 59 – 68.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เพ็ญพร ปุกหุตและสุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค ณ ตลาดท้องถิ่น. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(1),111-122.

ยงยุทธ เสาวพฤกษ์. (2561, ธันวาคม 22). แนวโน้ม ‘อาหารและเครื่องดื่ม’ เพื่อสุขภาพ. https://www.prachachat.net/columns/news-268743

รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย. (2560). ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากธรรมชาติในประเทศไทย :Euromoniter International.

เสกสรรค์ วีระสุข และ วรางคณา อดิศรประเสริฐ. (2557). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.]

อาณดี นิติธรรมยง. (2558). Thailand Food Innovation Forum. มหาวิทยาลัยมหิดล.

อิสรีย์ สุขพรสินธรรม และ โสมฤทัย สุนธยาธร. (2562). ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(1), 112 – 125.

Armstrong, G., Kotler, P., & Da Silva, G. (2006). Marketing: An Introduction: An Asian Perspective. Pearson/Prentice Hall.

Gilaninia, S., Taleghani, M., & Azizi, N. (2013). Marketing mix and consumer behavior. Kuwait Chapter of the Arabian. Journal of Business and Management Review, 2(12), 53.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, Planning, Implementation and Control (9th ed.). Prentice Hall.

Ministry of Public Health. (2019). Dietary Reference Intake for Thais 2020. Nonthaburi: Bureau of Nutrition (BoN), Department of Health, Ministry of Public Health.

Othman, B. A., Harun, A. B., & Nazeer, S. (2018). Issues and Challenges Faced by Malaysian Umrah Travel Agencies in Providing Excellent Marketing Mix Services to Umrah Pilgrims. The Journal of Social Sciences Research. 2, 611-618.

Porraphat Jutrakul. (2561, พฤศจิกายน 19). เกิดน้อย แต่อยู่นาน จุดแรกเริ่ม “สังคมสูงวัย”. https://www.thaihealth.or.th/Content/45855-เกิดน้อย%20แต่อยู่นาน%20จุดเริ่มต้น%20”สังคมสูงวัย”.html

The New England Journal of Medicine. (2017, Jul 6), Health Effects of Overweight and Obesity in 195 Countries over 25 Years. (2017), 377(1), 13-27. https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa1614362.

Wahab, N. A., Hassan, L. F. A., Shahid, S. A. M., & Maon, S. N. (2016). The relationship between marketing mix and customer loyalty in hijab industry: The mediating effect of customer satisfaction. Procedia Economics and Finance, 37, 366-371.

World Health Organization. Informal expert consultation on yellow fever threat to India and other SEA region countries. Report of the consultation; 2011 March 23-25; Goa, India. New Deli: World Health Organization; 2012

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-26

How to Cite

ถาวรจิต ธ. (2021). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Maejo Business Review, 3(1), 41–56. https://doi.org/10.14456/mjba.2021.3