การพัฒนาศักยภาพเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ กรณีศึกษา ชุมชนเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กาญจนา สุระ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.1

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ชุมชนเกษตร, ประโยชน์เชิงพาณิชย์, ประโยชน์เชิงสาธารณะ, ภาคการเกษตร

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ในการต่อยอดการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 3 กลุ่มจาก 56 กลุ่มที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกษตรด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ และ Diamond Model วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาโครงการด้วย 6 มิติและการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 3 กลุ่มเกษตรกรมีจุดแข็งและโอกาสคือความเชี่ยวชาญด้านการผลิต การแปรรูปสินค้า และการประชาสัมพันธ์สินค้า สินค้าได้รับการรับรองมาตรฐาน มีหน่วยงานอื่นให้การสนับสนุนด้านความรู้ จุดอ่อนและอุปสรรคคือ ไม่สามารถผลิตสินค้าในปริมาณที่มากได้ตามคำสั่งซื้อจำนวน 2 กลุ่ม และมีคู่แข่งทางการตลาดจำนวนมากจำนวน 1 กลุ่ม แนวทางการต่อยอดการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะคือพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพิ่มขั้น ผู้นำควรมีความเข้มแข็งและมุ่งมั่นในการพัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตร ควรมีความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างความร่วมมือด้วยกันในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ ส่วนประโยชน์ในเชิงสาธารณะคือ นำผลการวิจัยนี้ไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรของชุมชนอื่นหรือนำไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). คู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ. สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2560, จาก https://www.dbd.go.th/download/article/article_20161103115457.pdf

กาญจนา สุระ. (2551). การจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของภาคชนบทแล ชุมชนเมืองจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เกษราพร ทิราวงศ์ และ อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง. (2554). การศึกษาการพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านแม่แรม ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนอย่างยั่งยืน. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ง่ายงาม ประจวบวัน. (2558). การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ชุมชนบ้านหลักเมตร ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารการวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7 (ตุลาคม 2558), 90-105.

จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน .(2559). ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของสตาร์ทอัพไทย. สืบค้นวันที่ 12 เมษายน 2560, จาก https://www.prd.go.th/th/download/article/article_20160527222254.pdf

ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2558, 19 กุมภาพันธ์). ก.เกษตรฯ MOU วิจัยเกษตรสู่เชิงพาณิชย์. ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2560, จาก http://www.ftawatch.org/node/45757

ดรุณ ไกรศรี. (2554). แนวคิดและทฤษฏีศักยภาพของบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นันทิยา หุตานุวัตร และคณะ. (2552). SWOT การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. สืบค้นวันที่ 11 เมษายน 2560, จาก http://www.jited.blogspot.com/

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2558). ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนและวิเคราะห์สถานการณ์การต่อยอดการวิจัยด้านการเกษตรเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ 9 กันยายน 2558. สรุปรายงานการประชุม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (2559). สถิติการส่งออกข้าวของไทย. สืบค้นวันที่ 11 มีนาคม 2560 จาก http://www.thairiceexporters.or.th/default_th.htm

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. (2560). สถิติการจดทะเบียนของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2560 จาก http://www.chiangmai.doae.go.th/agriculra004.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). วิจัยและพัฒนาพลังขับเคลื่อนสังคมไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 26 (มกราคม-มีนาคม 2557), 14-26.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน. (2556). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน. สืบค้นวันที่ 13 เมษายน 2560, จาก http://www.kms.nret.go.th/kms/sites/default/files.pdf

อรรณพ เรืองกัลป์ปวงค์, สราวรรณ์ เรืองกัลป์ปวงค์, วรนาถ ศรีพงศ์ และปวีณา สปินเลอร์. (2014). การพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรธรรมชาติชุมชนวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัย มสด, 10 (พฤษภาคม 2014), 72-85.

อรพินท์ บุญสิน. (2557). แนวทางการสร้างผลลัพธ์การผลิตสินค้าเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคอุตสาหกรรม. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3 (กันยายน 2557), 22-31.

Porter, Michael E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: The Free Press.

Waterman, R. (1980). Systems thinking and the 7-S model. สืบค้นวันที่ 11 เมษายน 2560, จาก http://www.reurin.com/wp.content

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19

How to Cite

สุระ ก. (2021). การพัฒนาศักยภาพเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ กรณีศึกษา ชุมชนเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่. Maejo Business Review, 1(1), 1–11. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.1