แนวทางการเพิ่มคุณค่างานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ บุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย โรงแรมระดับ 4 ดาว จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • จุรีรัตน์ ว่องปลูกศิลป์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.2

คำสำคัญ:

เจนเนอเรชั่นวาย, ศักยภาพ, ธุรกิจโรงแรม, การเพิ่มคุณค่างาน

บทคัดย่อ

          งานวิจัย เรื่องแนวทางการเพิ่มคุณค่างานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย โรงแรมระดับ 4 ดาว จังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในธุรกิจโรงแรม และเพื่อศึกษากลยุทธ์การเพิ่มคุณค่างานที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในธุรกิจโรงแรมอย่างเกิดประสิทธิผลเป็นการวิจัยแบบผสม  (Mixed Method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากแนวคิดทฤษฎี เอกสาร ตำรา งานวิจัย และศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  (In-Depth Interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) คือ ผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงแรมระดับ 4 ดาว เขตจังหวัดภูเก็ต จำนวนทั้งหมด 10 โรงแรม ทำการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 400 ชุด จากกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ระดับการปฏิบัติงานตั้งแต่ระดับการปฏิบัติการจนถึงระดับหัวหน้าฝ่ายจากธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน จากกลุ่มตัวอย่าง 10 แห่ง การวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้แนวคิด ทฤษฎีเพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพและศักยภาพการทำงาน ประเมินใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการ ด้านการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จ และด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและประเมินระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะ การทำงาน และด้านรูปแบบการจัดการ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในธุรกิจโรงแรม เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย สภาพแวดล้อมในการทำงานและการสร้างบรรยากาศที่ดีมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน การสร้างแรงจูงใจผ่านกระบวนการอบรม ให้ความรู้ และวางแผนการทำงานให้พนักงาน สร้างการทำงานเป็นทีม พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงแรมและการศึกษากลยุทธ์การเพิ่มคุณค่างานที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) ในธุรกิจโรงแรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย (Generation Y) คือความเบื่อหน่ายในการฝึกอบรมและพัฒนาแต่การเพิ่มกลยุทธ์โดยการเพิ่มคุณค่างาน สร้างความท้าทายและแรงจูงใจในการทำงานได้ดี ส่งผลต่อการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2552). พัฒนาบุคลากรด้วยการเพิ่มคุณค่าในงาน: Job Enrichment สืบค้นวันที่ 1 มกราคม 2562 จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1433&read=true&count=true

ชัยวัฒน์ ไพนุพงศ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่ม Gen Y. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, โครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน: มุมมองระหว่างเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(121), 1-25.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤายา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์ และชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36 (141), 1-17.

ปิยนุช เกาะกลาง. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมบูติคแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ระชานนท์ ทวีผล, ชลิตรา ผลาชิต และนริศรา บูรณ์เจริญ. (2559). แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรเจนเนอเรชันวาย โรงแรมเครือข่าย ระดับ 5 ดาว เขตกรุงเทพมหานคร. (การจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา), 2 (50-62).

ศิริทิพย์ ทิพย์ธรรมคุณ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานโรงแรมห้าดาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

ศุทธกานต์ มิตรกูล และ อนันต์ชัย คงจันทร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องของค่านิยมกับความผูกพันต่อองค์กร. (ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศุภโชค อินทจักร์. (2559). กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่างาน เพื่อการพัฒนาพนักงานในที่ทำงาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (สำหรับผู้บริหาร), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อานนท์ วงษ์เชียง และ สุรีย์ เข็มทอง. (2555). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 10 (1), 107-118.

อัศวินี ไชยวุฒิ. (2551). ความพึงพอใจในงานของพนักงานแผนกบริการส่วนหน้าโรงแรม ในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1976). Motivation through the Design of Work: Test of a Theory. Organizational Behavior and Human Performance, 16, 250-279.

Martin, C.A (2005). From high maintenance to high productivity. Industrial and Commercial Training, 37(1), 39-44.

Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Nadler, L.C. (1980). Corporate Human Resource Development. New York: American Society for Training and Development.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19

How to Cite

ว่องปลูกศิลป์ จ. (2021). แนวทางการเพิ่มคุณค่างานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ บุคลากรเจนเนอเรชั่นวาย โรงแรมระดับ 4 ดาว จังหวัดภูเก็ต. Maejo Business Review, 1(1), 12–22. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.2