รูปแบบการเรียนรู้และสมรรถนะการจัดการความรู้ของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นวาย สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อนุชา พุฒิกูลสาคร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปาลวี พุฒิกูลสาคร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.3

คำสำคัญ:

เจนเนอเรชั่นวาย, รูปแบบการเรียนรู้, การจัดการความรู้, สมรรถนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการเรียนรู้และการจัดการความรู้ ทดสอบความสัมพันธ์และทดสอบผลกระทบระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับสมรรถนะการจัดการความรู้ของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นวาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 236 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาเจนเนอเรชั่นวายมีการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสและอาศัยการประมวลข่าวสาร อีกทั้งพวกเขามีความสามารถในการปรับตัวเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ได้หลากหลายตามสถานการณ์ สมรรถนะการจัดการความรู้ของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นวายมักจะอาศัยเทคโนโลยีด้านข้อมูลและด้านคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วย สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้นำกับการจัดการความรู้ด้านทัศนคติในคุณค่าความรู้ทางการบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสูงสุด ที่น่าสนใจคือรูปแบบการเรียนรู้แบบพึ่งตนเองส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการจัดการความรู้ด้านการยึดมั่นในการบูรณาการความรู้ ด้านการตระหนักถึงการจัดเก็บความรู้  และด้านการตระหนักถึงการใช้ความรู้ ดังนั้น จากข้อค้นพบทางวิจัย อาจารย์ผู้สอนควรวัดรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนการเลือกวิธีการสอนและการวัดผล จะช่วยให้นักศึกษาเจนเนอเรชั่นวายเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ตามความถนัด และส่งผลให้เกิดสมรรถนะการจัดการความรู้ยิ่งขึ้น

References

เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก. (2552). รูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เบญญาภา คงมาลัย และ ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2558). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษ ที่ 21. Journal of Education Studies, 43(1), 37-47.

บุญเตือน วัฒนกุล, ศรีสุดา งามขำ, และ กัลยา งามวงษ์วาน. (2559). ความแตกต่างของรูปแบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Journal of Health Science Research), 10(1).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ศิรินภา จามรมาน, ปนัดดา ชำนาญสุข, ปัทมา พุ่มมาพันธุ์ และทัศนะ ใจชุ่มชื่น. (2543). การศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะบุคลิกภาพรูปแบบการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38 สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สาขาคหกรรมศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ และสาขามนุษยศาสตร์ 1-4 กุมภาพันธ์ 2543).

Arquero, J. L., Fernández-Polvillo, C., Hassall, T., & Joyce, J. (2017). Relationships between communication apprehension, ambiguity tolerance and learning styles in accounting students. Revista de Contabilidad, 20(1), 13-24.

Dalkir, K. (2005). Knowledge management in theory and practice. Oxford: Elsevier Davenport, T., De Long, D., & Beers, M. (1998). Successful knowledge management projects. Sloan Management Review, 39 (Winter): 43-57.

Dechawatanapaisal, D. (2014). A study of viewpoints and expectations of generational characteristics between generation X and generation Y. Chulalongkorn Business Review, 36(141): 1-17.

Debowski, S. (2006). Knowledge management. John Wiley & Sons Australia: Brisbane.

Dunn RS, and Dunn KJ, Price GE. (1984). Learning style inventory. Lawrence, KS: Price Systems, 1989.

Felder, R. M., & Brent, R. (2005). Understanding student differences. Journal of engineering education, 94(1), 57-72.

Feliciano, J. L. (2007). The success criteria for implementing knowledge management systems in an organization. Pace University.

George, D., & Mallery, P. (2009). SPSS for windows step by step: A simple guide and reference 16.0 Update. (9th ed.). New York: Pearson Education.

Gorelick, C. & B.T. Monsou. (2006). For performance through learning, knowledge management is the critical practice. The Learning Organization, 12(2), 125–39.

Hair, J. F., Black, W. C. Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. USA: Pearson Education International.

Hasani, K., & Sheikhesmaeili, S. (2016). Knowledge management and employee empowerment: A study of higher education institutions. Kybernetes, 45(2), 337-355.

Jeffries, F. L., & Hunte, T. L. (2004). Generations and motivation: A connection worth making. Journal of Behavioral & Applied Management, 6(1), 37-70.

Howe, N., and Strauss, W. (2000). Millennials rising: The next great generation: Vintage.

McGuigan, N. C., & Kern, T. (2009). The Reflective accountant: changing student perceptions of traditional accounting through reflective educational practice. International Journal of Learning. 16(9):49-68.

Nemani, R. R. (2010). The role of computer technologies in knowledge acquisition. Journal of Knowledge Management Practice, 11(3), 1-11.

Nonaka, I., & Toyama, R. (2003). The knowledge-creating theory revisited: Knowledge creation as a synthesizing process. Knowledge management research & practice, 1(1), 2-10.

Nonaka, I. & Takeuchi, H. (2004). Hitotsubashi on knowledge management. Singapore: John Wiley & Sons (Asia).

Pfau, B. N. (2016). What do millenials really want at work?. The same things the rest of us do. Harvard Business Review, 7.

Phothidara, Y. (2011). Nursing education management: For student generation Y. Journal of Nursing Science and Health, 34(2), 61-69.

Schleifer, L. L. F. & Dull, R. B. (2009). Metacognition and performance in the accounting classroom. Issues in Accounting Education, 24(3), 339-367.

Sessa, V. I., Kabacoff, R. I., Deal, J., & Brown, H. (2007). II. Research tools for the psychologist- Manager: generational differences in leader values and leadership behaviors. Psychologist-Manager Journal (Taylor & Francis Ltd), 10(1), 47-74.

Trilling, B., & Fadel, C. (2012). 21st century skills: Learning for life in our times. John Wiley & Sons.

Turban, E. (2007). Information technology for management: Transforming organizations in the digital economy. John Wiley & Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19

How to Cite

พุฒิกูลสาคร อ., & พุฒิกูลสาคร ป. (2021). รูปแบบการเรียนรู้และสมรรถนะการจัดการความรู้ของนักศึกษาเจนเนอเรชั่นวาย สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. Maejo Business Review, 1(1), 23–34. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.3