การศึกษาปัจจัยคุณธรรมจริยธรรมนายทหารฝ่ายการเงิน

ผู้แต่ง

  • นิติศักดิ์ เชื่อมวราศาสตร์ วิทยาลัยพาณิชย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นพดล เดชประเสริฐ วิทยาลัยพาณิชย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.4

คำสำคัญ:

ปัจจัย, คุณธรรมจริยธรรม, ซื่อสัตย์, นายทหารฝ่ายการเงิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณธรรมจริยธรรมและลักษณะพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนายทหารฝ่ายการเงิน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาแนวคิดคุณธรรมจริยธรรมมาจากการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์นายทหารสัญญาบัตรการเงินเกษียณอายุราชการทำงานด้านการเงินเรื่องความซื่อสัตย์โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 5 คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา

          ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยคุณธรรมจริยธรรมของนายทหารฝ่ายการเงินเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ และพฤติกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ของนายทหารฝ่ายการเงินเป็นดังนี้ 1.ด้านปัจเจกบุคคล แบ่งเป็นกาย,วาจา, ใจ 2.ด้านสังคมแบ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน, องค์กร 3.ด้านเศรษฐกิจแบ่งเป็นกำลังพล, เพื่อนร่วมงาน, องค์กร 4.ด้านวัฒนธรรมแบ่งเป็นกำลังพล,องค์กร 5.ด้านกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับ แบ่งเป็นกำลังพล, องค์กร 6.ด้านการทำงานแบ่งเป็นกำลังพล, องค์กร และ 7.ด้านจิตวิทยาแบ่งเป็นกำลังพล,ผู้ร่วมงาน,องค์กร

          ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ คือ องค์กรทหารเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสายการบังคับบัญชา การมีสายการบังคับบัญชาที่สั้น จะช่วยส่งผลให้นโยบายการเงินลงไปถึงผู้ปฏิบัติงานได้เร็ว ร่วมถึงการสอดส่อง ดูแล พฤติกรรมได้ทั่วถึงเพิ่มขึ้น และการมีผู้บังคับบัญชาที่กำเนิดจากสายการเงินโดยตรงช่วยให้ทราบถึงปัญหา เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างดีซึ่งจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรม การมีคุณธรรมจริยธรรมร่วมทั้งความซื่อสัตย์ได้

References

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และ รุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2550). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

ชูชาติ สุกใส. (2559). เจ้ากรมการเงินทหารบก นโยบายการปฏิบัติงานของ กรมการเงินทหารบก. กรุงเทพฯ: กรมการเงินทหารบก.

วีรชัย พล้าโน๊ต. (2559, 30 มกราคม) หัวหน้ากองกำลังพล กรมการเงินทหารบก. สัมภาษณ์

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และคณะ. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. กรมการศาสนา: กระทรวงวัฒนธรรม.

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Abele, A. E., & Bruckmuller, S. (2011). The bigger one of the ‘‘Big Two’’? Preferential processing of communal information. Journal of Experimental Social Psychology, 47, 935–948.

Brambilla, M., & Leach, C. W. (2014). On the importance of being moral: The distinctive role of morality in social judgment. Social Cognition. European Journal of Social Psychology, 32, 397–408.

Brambilla, M., Sacchi, S., Pagliaro, S., & Ellemers, N. (2013). Morality and intergroup relations: Threats to safety and group image predict the desire to interact with outgroup and ingroup members. Journal of Experimental Social Psychology, 49, 811–821.

Choi, E., WOO, J. (2011). Liberal Reform, Political Corruption, and Socio-Economic Impacts in Asia and Eastern Europa. International Journal of Comparative Sociology, 52(3), 181-196.

Corruption Situation Index. (2013). Technical Report. Center for Economic and Business Forecasting (CEBF). UTCC: Author.

De Bruin, E. N. M., & Van Lange, P. A. M. (1999). Impression formation and cooperative behavior. European Journal of Social Psychology, 29, 305–328.

De Bruin, E. N. M., & Van Lange, P. A. M. (2000). What people look for in others: Influences of the perceiver and the perceived on information selection. Journal of Personality and Social Psychology, 26, 206–219.

Dunton,K.J. (1989). Gender differences in facial reactions to facial expressions. Journal of Biological Psychology, 30, 151–159.

Fiske, S. T., Cuddy, A. J. C., & Glick, P. (2007). Universal dimensions of social cognition: Warmth and competence. Journal of Trends in Cognitive Sciences, 11, 77–83.

Goodwin, G. P., Piazza, J., & Rozin, P. (2014). Moral character predominates in person perception and evaluation. Journal of Personality and Social Psychology, 106, 148–168.

Heikkila, H. and Marja, L. (2005). The research report attributes and process instilled ethic of Finland.

Hofstede, G. (1980). Culture and Organizations. Journal of International Studies of Management and Organization, 10(4), 15-41.

Nwabuzor, A. (2005). Corruption and Development: New Initiatives in Economic Openness and Strengthened Rule of Law. Journal of Business Ethics, 59, 121-138.

O’connor, S., Fischer R. (2012). Predicting Societal Corruption Across Time: Values, Wealth, or Institutions?, Journal of Cross-Cultural Psychology, 43(4), 649-659.

Rahim, H. & Rahiem, M., & Dinia H. (2012, June). The Use of Stories as Moral Education for Young Children. International Journal of Social Scienceand Humanity, 6(6). Retrieved from http://www.ijssh.org/papers/145-A10057.pdf.

Sanyal, Rajib. (2005). Determinants of Bribery in International Business: The Cultural and Economic Factors, Journal of Business Ethics, 59, 139-145.

Transparency international. (2017). Corruption Perception Index. Retrieved 20 June 2017, from http://www.transparency.org

Wojciszke, B., Bazinska, R., & Jaworski, M. (1998). On the dominance of moral categories in impression formation. Journal of Personality and Social Psychology, 24, 1251–1263.

Write 1975 .The psychology of moral behavior .Middlesex , England :Penguin Books

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19

How to Cite

เชื่อมวราศาสตร์ น., & เดชประเสริฐ น. (2021). การศึกษาปัจจัยคุณธรรมจริยธรรมนายทหารฝ่ายการเงิน. Maejo Business Review, 1(1), 35–47. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.4