ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทไปรษณีย์ จำกัด ในจังหวัดเชียงราย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2019.6คำสำคัญ:
ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, พนักงานไปรษณีย์บทคัดย่อ
การศึกษวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย จำกัดใน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานพนักงานไปรษณีย์ไทย จำกัด และ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย จำกัดใน จังหวัดเชียงราย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่สร้างขึ้นมาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากพนักงานไปรษณีย์ไทย จำกัด ในจังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสะที่มีต่อตัวแปรตาม
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศจะเป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 20-29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา/ปวส รายได้ประมาณ 10,001 – 15,000 บาท ระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 5 ปี ส่วนสมมติฐาน พบว่าปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานไปรษณีย์ จำกัด ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านความรับผิดชอบ และด้านลักษณะงาน ส่วนปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานไปรษณีย์ จำกัด ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ด้านความมั่นคงของงาน ด้านนโยบายและการบริหารงานขององค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการบังคับบัญชา และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ
References
กนกวรรณ วัธนไทยนันท์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัทชิโยดะ อินทิเกร (ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
เกรียงศักดิ์ เตจ๊ะวงค์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักทางหลวงชนบทที่ 10. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ชาคริต ศรีขาว. (2551). ความคิดเห็นต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทมิสกัน (ไทยแลนด์) จำกัด. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฎิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ).
ร้อยเอกหญิงณัฎฐิยา จุลวัจนะ. (2549). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมยุทธบริการทหาร. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม).
ณัฐธัญ ถนัดรบ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
เทพพนม เมืองแมน และ สวิง สุวรรณ. (2529). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรยุทธ ปัตตาเทสัง. (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ต่อการให้บริการรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษ กรณีศึกษาที่ทำการไปรษณีย์นครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธัญญณณัช รุ่งโรจน์สุวรรณ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิทยา บวรวัฒนา.(2542). ทฤษฎีองค์การสาธารณ. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ปริญญา สัตยธรรม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท วาย เอช เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด. (วิทยานิพนธ์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2532). การบริหารงานบุคคล. นนทบุรี: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิเชียร ใจดี. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช).
สมชาย คงพิกุล. (2537).ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวรรณี ทับทิมอ่อน. (2548). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทบางปะกงวู๊ด จำกัด. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุบลวรรณ เอกทุ่งบัว. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการของคณะสัตวแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน ครั้งที่ 9. (ธันวาคม 2555), 779-784
อุทุมพร รุ่งเรือง. (2555). ความพึงพอใจในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมแปรรูปโครงสร้างเหล็ก. (ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ).
Harrington, H. (1996). High performance benchmarking-20 steps to success. New York: McGraw-Hill.
Herzberg, F. (1968). The motivation to work. New York: Wiley.
McClelland, D. C. (1961). The achieving society. N.J.: Van Nostrand.
Plowman, G. E., & Peterson, E. (1989). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.
Porter, L.W. (1974, December). Organizational Commitment, Job Satisfaction, and Turnover among Psychiatric Technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.
Taro Yamane. (1973). Statistics an introduction analysis. New York: Harper & Row Publisher.
Von Haller Gilmer, B. (1966). Industrial Psychology. New York: McGraw-Hill.