ทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • รมิตา อินใส
  • วรวิทย์ เลาหะเมทนี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2019.9

คำสำคัญ:

ทัศนคติของผู้รับตรวจ, ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบ, การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน ประชากร คือ ผู้รับตรวจที่ผ่านการตรวจสอบภายในจากผู้ตรวจสอบภายในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จำนวน 202 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า ทัศนคติของผู้รับตรวจ ด้านความรู้ ความสามารถในลักษณะงานตรวจสอบภายใน ด้านวิธีการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน ด้านคุณลักษณะของผู้ตรวจสอบภายใน ด้านการรายงานผลและการติดตามผลการตรวจสอบและด้านจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบ ได้แก่ นโยบายและการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ความพร้อมของระบบงานและสารสนเทศ ความเข้าใจและการยอมรับของผู้รับตรวจ และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในกับหน่วยงานอื่น มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน ดังนั้น ผู้ตรวจสอบภายในและผู้รับตรวจควรมีการร่วมกันแก้ไขปัญหา หาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อแก้ไขป้องกัน การปฏิบัติงานผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม ซื่อสัตย์ สุจริตและมีจริยธรรม มีทัศนคติที่ไม่เอนเอียง เพราะอาจเกิดการละเว้นการปฏิบัติ มองข้ามจุดบกพร่องทำให้ไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข

References

กรมบัญชีกลาง. (2546). มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ : สำนักบัญชีและตรวจสอบภายในกระทรวงการคลัง.

กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ กองบริหารงานสาธารณสุข. (2560). โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นวันที่18 พฤษภาคม 2560, จาก https://phdb.moph.go.th/phdb2017/site/index.php?&p=11&type=3&t=3&id=27&sec=5

กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจสอบภายในภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายในระดับเขต ระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เกียรติศักดิ์ จีรเธียรนาถ. (2544). ปัญหาของการตรวจสอบภายในในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุลสารตรวจสอบภายใน, ปีที่ 12 ฉบับที่ 20 ประจำเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์.

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ : ที พี เอ็น เพรส.

จิตรภา รุ่นประพันธ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในมุมมองของผู้รับตรวจ. การค้นคว้าแบบอิสระ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรวรา ตันมงคลกาญจน. (2550). ความคิดเห็นของพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). แนวทางการตรวจสอบภายใน. ปทุมธานี : ดูบายเบส.

ธรรมรัตน์ มีธรรม. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา องค์การมหาชน. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

นวรัตน์ สมพลกรัง. (2553). ความคิดเห็นของผู้รับการตรวจสอบที่มีต่อมาตรฐานการตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขตภาคเหนือ. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปะทุม ภู่พัฒน์. (2552). ทัศนคติของผู้รับตรวจที่มีต่อหน่วยงานตรวจสอบภายในบริษัทจันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นท์ติ้ง จำกัด. การค้นคว้าแบบอิสระ ธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงศธร มู่ฮัมหมัด. (2557). การศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ในมุมมองของผู้รับตรวจ. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เพ็ญพร เจริญศิลาวาทย์. (2553). ความรู้และความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าแบบอิสระ ธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย , มนวิกา ผดุงสิทธิ์ และนภดล ร่มโพธิ์. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. (2560). ทรัพยากรบุคคล. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2560, จาก https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/news/workgroup-news/item/1479.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักตรวจและประเมินผล. (2560). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

อรพิมพ์ จิตตวิมล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน ในมุมมองของผู้รับตรวจของธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน). การค้นคว้าแบบอิสระ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรารัตน์ สิทธิ. (2553). ทัศนคติของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลและประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Black, K. (2006). Business Statistics For Contemporary Decision Making. "4" ^"th" ed. USA : John Wiley and Sons.

Chen Jiin-Feng, PhD, CIA. (2010). The IIA’s Global Internal Audit Survey : A Component of the CBOK Study Measuring Internal Auditing’s Value Report III. The Institute of Auditors Research Foundation.

Dickins, Denise and O’Reilly. (2009). The qualifications and independence of auditors,Internal Auditing : May/Jun 2009; 24, 3; ABI/INFORM Global : 14-21

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Alderson, R.E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. "6" ^"th" ed. New Jersey : Pearson.

Spekle, R. F., H. J. Van Elten and A. M. Kruis (2007). Sourcing of Internal Auditing : An Empirical Study, Management Accounting Research. 18(1) : 102-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-21

How to Cite

อินใส ร., & เลาหะเมทนี ว. (2021). ทัศนคติของผู้รับตรวจและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน กรณีศึกษา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดน่าน . Maejo Business Review, 1(2), 20–35. https://doi.org/10.14456/mjba.2019.9