ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนชุมชนพรเจริญ ตำบลกง อำเภอบ้านกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ
  • วนิดา จันทร์ศรี
  • บุษณีย์ เทวะ

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2020.8

คำสำคัญ:

ความเข้าใจการจัดทำบัญชีครัวเรือน, บัญชีครัวเรือน, ประชาชนในชุมชนพรเจริญ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนชุมชนพรเจริญ ตำบลกง อำเภอบ้านกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย  เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือนประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นประชาชน ในชุมชนพรเจริญตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 134 คน (kongkrilat.sukhothai.doae.go.th) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลเกี่ยวกับประชาชน ในชุมชนพรเจริญ ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เพศชายจำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 63.43 และเป็นเพศหญิง จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 36.57  มีอายุระหว่าง 42-49 ปี จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 34.33 รองลงมามีอายุระหว่าง 34-41 ปี จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 23.88 มีอายุระหว่าง 50-60 ปี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 20.15 มีอายุระหว่าง 26-33 ปี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 12.69 และมีอายุ 18-25 ปี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 8.96 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือนแก่ประชาชนในชุมชนพรเจริญ ตำบลกงอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรู้ความเข้าใจ และ 2. ด้านความสามารถและประสบการณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16 , S.D. = 0.778) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.17 , S.D. = 0.767) รองลงมาเป็นด้านความสามารถและประสบการณ์ อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.15, S.D. = 0.789) ตามลำดับ

References

ธารี หิรัญรัศมี. (2554). การบัญชีการเงิน เรื่อง บัญชีครัวเรือนศิลปะการจดบันทึก. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

บุษยา มั่นฤกษ์. (2556). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประภากรณ์ เกียรติกุลวัฒนา. (2554). บัญชีครัวเรือนศิลปะการจดบันทึก. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

พิเชษฐ์ ตั้งสงค์ไพบูลย์. (2555). ความต้องการของชุมชนที่มีต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนในพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย, (1), 1-73.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2552). พฤติกรรมการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. รายงานการวิจัย, 7(1), 69-79.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และนิศรา จันทร์เจริญสุข. (2556). การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

วาริพิณ มงคลสมัย. (2551). การจัดการความรู้ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิตผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศิรประภา ศรีวิโรจน์. (2553). การศึกษาสภาพปัญหาและการติดตามประเมินโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. (2552). การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สารนิพนธ์ (ศศ.ม.การจัดการธุรกิจเกษตร)

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองตูม http://kongkrailat.sukhothai.doae.go.th/index1.htm. (มกราคม, 8, 2561)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25

How to Cite

พราหมณ์ศิริ ร., จันทร์ศรี ว., & เทวะ บ. (2021). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนชุมชนพรเจริญ ตำบลกง อำเภอบ้านกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. Maejo Business Review, 2(2), 32–45. https://doi.org/10.14456/mjba.2020.8