ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประเมินราคาที่ดินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อมรภัค รักษาศรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เฉลิมพล จตุพร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วสุ สุรรณวิหค สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2022.7

คำสำคัญ:

การประเมินราคา, กรุงเทพมหานคร, เขตจตุจักร, ที่ดิน

บทคัดย่อ

การใช้ที่ดินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งการค้าในแหล่งธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศเพราะมีบริษัทชั้นนำตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว เช่น การบินไทย การปิโตรเลียม อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ประกอบด้วยรถไฟฟ้าบนดิน รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีขนส่งสายเหนือ และสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาประเมินที่ดินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลที่ดินที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 350 ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้ตัวประมาณค่ากำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาประเมินที่ดินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ได้แก่ แปลงที่ดินที่ติดถนน การใช้ประโยชน์เป็นพาณิชยกรรม และความกว้างของผิวจราจรหน้าแปลงที่ดิน ในขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาประเมินที่ดินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ได้แก่ ระยะห่างจากห้างสรรพสินค้า ระยะห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT ระยะห่างจากโรงเรียน ระยะห่างจากโรงพยาบาล และระยะความลึกของแปลงที่ดิน ทั้งนี้ แบบจำลองดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการทำนายการประเมินราคาที่ดินในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เท่ากับร้อยละ 77.3

References

กรมธนารักษ์. (2562). โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรมธนารักษ์. สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน.

กรมธนารักษ์. (2563). ข้อมูลที่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม. กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน.

มนัสวี อยู่นาน. (2561). การสร้างตัวแบบพยากรณ์ราคาที่ดินเปล่าในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร โดยวิธี MLR. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562ก). พระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. 2562. กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน. https://tak.treasury.go.th//web-upload/45x67bf7a6fe8eeb7d38245cecd679435cf/old-file/1223/article_20190703124740.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. (2562ข). พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.พ.ศ. 2562. กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/030/T_0021.PDF

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). กฎกระทรวงการกำหนดราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง การจัดทำบัญชีราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และแผนที่ประกอบการประเมินราคาที่ดิน พ.ศ. 2563. กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน. https://dep-valstd.treasury.go.th/web-upload/120xb47f9e557955d3alance14abad9c4deb7/m_document/7470/42670/file_download/a766fd76b0dcf812216ad2df51ecd2ce.pdf

วรากร ลิขิตอนุภาค และศรัณยพงศ์ เตชโรจนภาคิน. (2562). แบบจำลองการประมาณราคาที่ดินขนาดเล็กบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Silpakorn University, 12(4), 1425-1435.

สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล อิศเรศ วีระประจักษ์ และการุณย์ เดชพันธุ์. (2559). การพยากรณ์มูลค่าที่ดินเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 12(2), 111-132.

สุพัชฌาย์ ศรีสมบูรณ์ และพัศพันธน์ ชาญวสุนันท์. (2563). ผลของทำเลที่ตั้งของแปลงขายภายในโครงการต่อการกำหนดราคาขายทาวน์เฮ้าส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สาระศาสตร์, 3(3), 571-583.

อัจฉรา วิภาตานนท์. (2553). แบบจำลองราคาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรร กรณี ชุมชนบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. [ปริญญานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cottrell, A., & Lucchetti, R. (2022). Gretl user’s guide: Gnu regression, econometrics and time-series library. http://gretl.sourceforge.net/gretl-help/gretl-guide.pdf

Gujarati, D. N., & Porter, D. C. (2009). Basic econometrics. (5th ed.). McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

รักษาศรี อ., จตุพร เ., สุวรรณวิหค ว., & สีระสาร น. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประเมินราคาที่ดินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. Maejo Business Review, 4(2), 47–67. https://doi.org/10.14456/mjba.2022.7