การสร้างสื่อดิจิทัลคอนเทนต์โดยชุมชนเพื่อสร้างช่องทางการตลาดออนไลน์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงศรีสะเกษมาตรฐาน GI ในเขตอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พนิดา พานิชกุล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การตลาดออนไลน์, ดิจิทัลคอนเทนต์, มาตรฐาน GI, หอมแดงศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงศรีสะเกษ GI ในเขตอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 2) สร้างสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ 3) ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรผู้ปลูกหอมแดงศรีสะเกษ GI ในอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของสื่อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการสร้างดิจิทัลคอนเทนต์โดยชุมชนมีส่วนร่วม พบว่าเป้าหมายของการสร้างสื่อดิจิทัลคอนเทนต์คือการประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้หอมแดงศรีสะเกษ GI กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มลูกค้ารายย่อย กลุ่มคนรักสุขภาพ และกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ เนื้อหาที่จะถ่ายทอดมี 4 ประเด็น ได้แก่ วิธีการเพาะปลูก ลักษณะของหอมแดงศรีสะเกษ GI การเก็บรักษา และคุณประโยชน์ของหอมแดง ช่องทางออนไลน์ที่เลือกคือเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) สื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์มี 3 รูปแบบ คือ สื่อที่เป็นภาพนิ่ง ข้อความ และวิดีโอ 3) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเนื้อหามีความถูกต้องน่าสนใจ สอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อ ส่วนความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสื่อดิจิทัลคอนเทนต์มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ภาพและเสียงมีคุณภาพที่ดี สามารถใช้ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักหอมแดงศรีสะเกษ GI มากยิ่งขึ้น และการนำเสนอสื่อช่วยให้เกิดความสนใจในสินค้า และ 4) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของสื่อดิจิทัลคอนเทนต์บนช่องทางการตลาดออนไลน์ ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนแตกต่างกัน

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2563). 142. สช 63100142 หอมแดงศรีสะเกษ. กรมทรัพย์สินทางปัญญา. http://www.ipthailand.go.th/th/gi-011/item/gi63100142.html

กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2561). การสร้างแบรนด์และออกแบบโฆษณาดิจิทัลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภค. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 295-323.

จารุพัฒน์ จรุงโภคากร. (2561). ปัจจัยการสร้าง Content Marketing ที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในประชากร Gen M. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย กรุงเทพ.

ชานนท์ รุ่งเรือง. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าและการลดต้นทุนโดยใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2560). Digital Marketing: Concept & Case Study. ไอดีซีฯ.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2557). Content Marketing เล่าให้คลิก พลิกแบรนด์ให้ดัง. ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย).

ทีมงานนิตยสารต่วยตูน. (2558). ดิจิตอลคอนเทนต์ ทางสายใหม่นำไทยโกอินเตอร์. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/content/495075

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2563). “หอมแดงยางชุมน้อย” คุณภาพอันดับโลก ฮิตขึ้นขายห้างดัง-ส่งนอก ขาย 3 ประเทศ. เทคโนโลยีชาวบ้าน. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_132013

นภมณฑ์ วังตระกูล. (2561). รูปแบบเนื้อหาการสื่อสาร และการตอบสนองในเฟซบุ๊กแฟนเพจธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์: กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจ IKEA Thailand. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท g-able. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่าง Online Marketing กับ Offline Marketing. G-able. https://www.g-able.com/digital-review/online-marketing-and-offline-marketing/

เพ็ญภิมล โสภณธนกิจ. (2560). การตลาดเชิงเนื้อหาของสำนักพิมพ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจการตัดสินใจ ซื้อและความภักดีของผู้อ่าน : สำนักพิมพ์อะบุ๊กและสำนักพิมพ์แซลมอน. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มนวรา ทรัพย์เจริญ. (2560). ระดับความน่าสนใจของการสื่อสารการตลาดรูปแบบต่างๆ ของตราสินค้ายูนิโคล่ผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค. [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

โยธิน แสวงดี. (2561). การวิจัยแบบผสม. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. https://research.srru.ac.th/research/?p=3095

รัตน์มณี นิลละออ, ผริตา รอดชุ, พรทิวา พงษ์สมบัติ, อริสา ไหวดี, จิรวัฒน์ ราตรี, และทัชชกร สัมมะสุต. (2564). การตลาดเชิงเนื้อหาที่หยาบคาย โดยอาศัยความพึงพอใจ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 57–73.

วีระนันท์ คํานึงวุฒิ และ อัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 32-45.

ศิริพร ศรีชูชาติ. (2548). มูลค่าเพิ่มในประเทศอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศไทย. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สงวนศักดิ์ ศรีสุธรรม. (2562). หอมแดง กล่องความรู้กินได้. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). https://www.okmd.or.th/upload/pdf/2560/KC/Shallot.pdf

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2561). ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content). สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. https://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/c.dicchithalkhnethnt_rev4.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). สำรวจหอมแดงศรีสะเกษ-ยโสธรเผยเกษตรกรหันปลูกอินทรีย์มากขึ้น แนะสังเกตแปลง เฝ้าระวังหนอนกระทู้. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. http://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/30337/TH-TH

อภิญญา แก้วเปรมกุศล. (2562). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 2(6), 20–35.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2010). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). Pearson Education International.

Job Cute News. (2562). งาน Content Marketing กับการสร้าง Content อย่างไรให้น่าสนใจ. Job Cute. https://news.jobcute.com/jobcuteแนะนำ/งาน-content-marketing-กับการสร้าง-content-อย่าง/

Step Academy. (2560). 5 step-by-step ทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งสำหรับ SME. Step Academy. https://stepstraining.co/content/5-step-content-marketing-for-sme

Tiger. (2562). What is Marketing Plan? Writing Simply Marketing Plan. Tiger. https://thaiwinner.com/marketing-plan/

Pulizzi, J. (2014). Epic Content Marketing: How to tell a different story, break through the clutter, and win more customers by marketing less. McGraw-Hill Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22