หลักอธิษฐานธรรม 4 : การส่งเสริมความสามัคคีในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูสมุห์สมชาย สิริสมฺปนฺโน

บทคัดย่อ

การส่งเสริมความสามัคคีในสังคมไทยตามหลักอธิษฐานธรรม 4 ได้แก่ ปัญญา,สัจจะ,จาคะ,อุปสมะ มาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยจากการศึกษา พบว่าสังคมไทยต้องการความเป็นหนึ่งเดียวของผู้คนในสังคมด้วยการรวมพลังกันปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ถูกต้องดีงามตามหลักการ ข้อบังคับ กติกา และศีลธรรม สิ่งที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ความสามัคคี คือ ทุกคนใช้ปัญญาในการทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ดำรงมั่นในความจริงที่รู้ชัดด้วยปัญญา มีการสละสิ่งทั้งหลายอันผิดพลาดจากความจริงเสียได้ และใช้วิถีทางสันติระงับโทษข้อขัดข้องมัวหมองวุ่นวาย ทำจิตใจให้สงบได้ ถือความสามัคคีเป็นใหญ่ย่อมส่งผลให้เกิดความสงบสุขทั้งแก่ตนและสังคมอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Kingsley Davis. (1969). Human Society. new York : The macmillan Company.

Paul B Horton Chester. L. Hunt. (1972). Sociology. New York : McGraw-Hill Book Company.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และรุ่งเรือง สุขารมณ์. (2550). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่างๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จำกัด.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2533). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด ร่วมกับสำนักพิมพ์หมู่บ้าน.

ถวัลย์ มาศจรัส. ประชาธิปไตย. (2542). กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

ถวิล ธาราโภชน์. (2532). จิตวิทยาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้า.

ประจวบ คำบุญรัตน์. (2539). หัวใจของการศึกษา ศาสนาต้องเป็นรากฐาน. กรุงเทพมหานคร : กรมสามัญศึกษา : กระทรวงศึกษาธิการ.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2553). การบูรณาการพุทธิปัญญา เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2531). รักษาใจยามป่วยไข้. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สวย.

พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. (2553). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เม็ดทรายพริ้นติ้ง จำกัด.

พระมหาอุดม สารเมธี. (2550). ความสามัคคีนั้น สำคัญนัก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : ระฆังทอง.

พระครูนิกรสุนทรกิจ (สมพงษ์ นุ่มสกล). (2554). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสิฐ เจริญสุข. (2542). คู่มือการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์. (2544). การบูรณาการหลักคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพครู. ใน สาระนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิตประจำปี 2554. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่งเรือง สุขารมณ์. (2550). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

แสวง อุดมศรี. (2533). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.