หลักยุติธรรมในไตรภูมิพระร่วงต่อชุมชนลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

พระเทพภิชาติ ปิยธมฺโม (เติบกายา)
พระมหาสมเด็จ มหาสมิทธิ (อัตสาร)
พระเดชขจร ขนฺติธโร (ภูทิพย์)
พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี (ไกรเทพ)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักยุติธรรมในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงต่อชุมชนลุ่มน้ำโขง โดยการนำเสนอแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดความยุติธรรมได้สอดแทรกอยู่ในวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงอย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นหากชาวพุทธที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงได้น้อมนำคำสอนในวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงไปปรับใช้ ก็จะส่งผลให้ชุมชนนั้นมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง เมื่อประชาชนยอมรับในผลของการกระทำของตนและเชื่อในกฎแห่งกรรม ชุมชนลุ่มน้ำโขงก็จะเป็นชุมชนแห่งความยุติธรรมมากขึ้น ยิ่งประชาชนเชื่อว่ากฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแล้ว ชุมชนนั้นก็จะยิ่งพบกับความสงบสุขในบั้นปลาย ดังนั้น ไตรภูมิพระร่วงจึงเป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาที่สามารถปรับใช้ในการเมืองการปกครองสำหรับทุกสังคมได้อย่างแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น วรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงยังมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ของผู้ปกครองในสมัยสุโขทัยที่ได้นำหลักคำสอนทางพุทธศาสนามาปกครองบ้านเมือง อาทิ การนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการตัดสินคดีความของประชาชน ถือเป็นการนำคำสอนเรื่องนรก-สวรรค์มาช่วยกล่อมเกลาให้เกิดความกลัว ให้เห็นถึงผลของการกระทำความผิดนั้น หากชุมชนลุ่มน้ำโขงรักษาความเชื่อเกี่ยวกับภพภูมิ เชื่อแน่ว่าจะช่วยให้สังคมมีความสงบสุขมากขึ้น ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของคนในชุมชนก็จะเกิดขึ้นได้ ยิ่งชาวลุ่มน้ำโขงหรือชาวโลกตระหนักถึงความยุติธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา ก็จะยิ่งส่งเสริมให้สังคมเหล่านั้นเต็มไปด้วยความผาสุก ร่มเย็น อันเนื่องมาจากฐานความเชื่อเรื่องผลแห่งกรรมนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jerome E. Carlin, Jan Howard, and Sheldon L. (2014). Massinger, Civil Justice and the Poor: Issues for Sociological Research. Law and Society Review, 1(1), 9-19.

Kurian George Thomas . (2011). The Encyclopedia of Political Science. Washington: Washington: CQ Press.

ไทยรัฐออนไลน์. (2560). “วรรณกรรมลุ่มน้ำโขง ธารอักษรสันติภาพ”. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1342719

ธนาคารโลก (World Bank). (2017). “อัพเดท!! จำนวนประชากรปัจจุบันของ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่คุณไม่เคยรู้”. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2018 จาก https://www.wegointer.com/2017/07/total-asean-populations/

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2555). ความยุติธรรมในมุมมองของพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิทธา พินิจภูวดล. (2527). “การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเกี่ยวกับสังคมอุดมคติในวรรคดี เรื่องไตรภูมิพระร่วง ยูโทเปียและเต๋าเต็กเก็ง”. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์, 5(2), 93-114.

สุพาสน แสงสุรินทร. (2558). “จิตรกรรมฝาผนังอีสาน “ฮูปแต้ม”. วารสารศิลปกรรมศาสตร, 7(1), 93-104.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (4 2011). พุทธที่แปลกแยกจากความเสมอภาคในโลกสมัยใหม่. เรียกใช้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2560 จาก https://prachatai.com/journal/2011/09/36788

อุดม จูมพลหล้า. (2549). วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของคนไทยแถบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.