ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้ล่วงละเมิดสิกขาบทของกลุ่มพระฉัพพัคคีย์

Main Article Content

พศุตม์ ขอดเมชัย
พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้ล่วงละเมิดสิกขาบทของกลุ่มพระฉัพพัคคีย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้ล่วงละเมิดสิกขาบทของกลุ่มพระฉัพพัคคีย์ และเพื่อศึกษาผลกระทบจากการละเมิดสิกขาบทของพระฉัพพัคคีย์ ผลของการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้พระฉัพพัคคีย์ล่วงละเมิดสิกขาบท คือ (1) เป้าหมายของการบวช ไม่ได้บวชเพื่อมรรคผลนิพพาน แต่บวชเพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น (2) บริบททางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากพระฉัพพัคคีย์เกิดในตระกูลกสิกรรม มีความฝืดเคืองในด้านเศรษฐกิจและขาดการยอมรับทางสังคม (3) อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัว พระฉัพพัคคีย์มีพื้นเพอุปนิสัยเกียจคร้าน ชอบความสะดวกสบาย ชอบกลั่นแกล้งและสร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น (4) พระฉัพพัคคีย์ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา แต่บวชเพื่อหลีกหนีการทำงานในชีวิตฆราวาสเท่านั้น (5) พระฉัพพัคคีย์เป็นพระกลุ่มใหญ่ เมื่อรูปใดทำผิด จึงถูกนับเนื่องเข้าในกลุ่มพระฉัพพัคคีย์ด้วย (6) พระฉัพพัคคีย์บางกลุ่ม ติดตามพระพุทธเจ้าไปยังชนบทต่าง ๆ เมื่อทำผิดพระธรรมวินัย จึงถูกเพ่งโทษได้ง่าย (7) พระฉัพพัคคีย์เป็นกลุ่มพระที่ฉลาด แต่ขาดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง จึงทำให้กลุ่มพระฉัพพัคคีย์คอยหาช่องว่างในการหลบเลี่ยงวินัย อันเป็นที่มาของการบัญญัติสิกขาบทจำนวนมาก ผลกระทบจากการละเมิดสิกขาบทของพระฉัพพัคคีย์ พบว่า พฤติกรรมของพระฉัพพัคคีย์เป็นที่เสื่อมศรัทธาของชาวบ้าน เป็นที่รังเกียจของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก และเป็นสาเหตุให้บัญญัติสิกขาบท

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระศรีกิตติโสภณ (สุกิตฺติ). (2519). มหาชนบท 16 แคว้นในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล. ม.ป.ท.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2537). ความเป็นมาของอาบัติปาราชิก. กรุงเทพมหานคร: เรือนธรรม.

G.P. MALALASEKRA. (1974). Dictionary of Paliproper Names Vol ll. LONDON: THE PALI TEXT SOCIETY.

พระมหาอเนก มหคฺฆปญฺโญ. (2556). การศึกษาวิเคราะห์การล่วงละเมิดพระพุทธบัญญัติของภิกษุฉัพพัคคีย์. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2541).พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). อรรถกถาภาษาไทย พรวินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา ภาค 2 ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แสวง แสนบุตร. (2559). วิเคราะห์บทบาทของพระฉัพพัคคีย์ต่อการบัญญัติวินัยของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.