การตลาดดิจิทัล 4.0 ที่ส่งผลต่อการรับรู้และความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)

Main Article Content

ณัชกานต์ ฤกษ์สมจิตร์
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดยุคดิจิทัล 4.0 ส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ 2) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดยุคดิจิทัล 4.0 ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คิดเป็นร้อยละ 6.71 จากจำนวนประชากร 5,963 คน วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทางการตลาดยุคดิจิทัล 4.0 ส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนเปลี่ยนไป                     โดยอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นจึงมีกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลเพื่อให้บริษัทบรรลุเป้าหมาย ผลการวิจัยประกอบด้วย         การตลาดยุคดิจิทัล 4.0 ด้านการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) (sig.= 0.000 b= 0.266) เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มากที่สุด


            2) ปัจจัยทางการตลาดยุคดิจิทัล 4.0 ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะเข้าถึงผู้บริโภค เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความหมายให้เข้าใจตรงกัน สามารถสร้างความหมายต่าง ๆ ร่วมกันในการแสดงข้อเท็จจริง ความคิด ทัศนคติและความรู้สึกได้ ดังนั้น จึงมีผลต่อความพึงพอใจ ปัจจัยทางการตลาดยุคดิจิทัล 4.0 ด้านการทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาบนอินเตอร์เน็ต (CRM) (sig.= 0.000 b= 0.40) เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กิตติ ขุนสนิท. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความพึงพอใจของการใช้แอพพลิเคชั่นอีคุ๊ก : กรณีศึกษาอาหารพร้อมปรุงแบบแห้ง. นนทบุรี : สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ชูใจ คูหารัตนไชย. (2546). สถิติเบื้องต้น (Introduction to Statistics). กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2557). Digital Marketing : Concept & Case Study. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์ บจก.

นิคม ถนอมเสียง. (2550). การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม. ขอนแก่น : ภาควิชาสถิติและประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล. (2554). “Digital Marketing” ไอเดียลัดปฏิวัติการตลาด. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพธุรกิจ.

Chaffey, D., & Smith, P. R. (2013). Emarketing excellence planning and optimizing your digital marketing. Abingdon : Routledge.

Yamane, T. (1967). Statistics : An introductory analysis (2nd ed.). New York : Harper & Row.