บทบาทนักสังคมสงเคราะห์กับการบริการสวัสดิการในโรงพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์กับการให้บริการสวัสดิการในโรงพยาบาล นักสังคมสงเคราะห์เป็นบุคคลผู้ขับเคลื่อนนโยบายรัฐสวัสดิการไปสู่การปฏิบัติสำคัญ โดยมุ่งแก้ไขและพัฒนาสังคมไปในคราวเดียวกัน สังคมสงเคราะห์ถูกจัดให้เป็นศาสตร์หนึ่งในสาขาวิทยาศาสตร์สังคมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือศึกษาปรากฏการณ์เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นสำคัญ ปรัชญาและวิธีคิดของวิชาชีพนี้คือปรัชญามนุษย์นิยมที่สอดคล้องกับการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และปฏิเสธความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ การปฏิบัติการทางสังคมของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูปสังคมหรือการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปสังคมเป็นลำดับแรก สังคมสงเคราะห์นั้นถือเป็นวิชาชีพที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของมนุษย์และระบบทางสังคม โดยงานสังคมสงเคราะห์จะต้องเข้าช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสังคมจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ค่านิยมของนักสังคมสงเคราะห์จะตั้งอยู่บนพื้นฐานการเข้าใจความแตกต่างด้านพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล ในขณะเดียวกันก็จะต้องให้ความนับถือบุคคลทุกกลุ่มในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียมกัน และยอมรับการตัดสินใจของปัจเจกบุคคลด้วย ซึ่งโรงพยาบาลก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการบริการสวัสดิการแก่สังคม ดังนั้น เมื่อนักสังคมสงเคราะห์ที่มีบทบาทดูแลปัญหาความเดือดร้อนทางสังคม พร้อมกับสร้างความมั่นคงในชีวิต และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านสุขอนามัยได้แล้ว ยังต้องทำงานร่วมกับคณะแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นได้ด้วย
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือจิตอาสาสวัสดิการสังคม : ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารสุข.
กิตติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2562). บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) Handbook of Health Social Work. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 27(2), 228-253.
จินตนา รอดอารมณ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ. มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี.
นงลักษณ เเทพสวัสดิ์. (2540). ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระชยานันทมนุนี และบัณฑิกา จารุมา. (2560). นักสังคมสงเคราะห์ : ผู้แก้ไขปัญหาความต้องการของมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทัศน์, 13(2), 135-143.
ยศวดี อยู่สุข. (2561). นักสังคมสงเคราะห์ในกระแสการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 : บทบาทที่ท้าทายต่อการพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 26(2), 159-167.
วรวิทย์ เจริญเลิศ. (2555). ประเทศไทยกับแนวคิดรัฐสวัสดิการ : ก้าวข้ามประชานิยม. เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2563.จาก http://spm.thaigov.go.th/.
อิงฟ้า สิงห์น้อย และรัฐชาติ ทัศนัย. (2561). นโยบายสาธารณะ: การบริหารและการจัดการภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทัศน มจร, 6(1), 610-623.
Arthur F. (1947). The Field of Social Work. New York : Holt Rinehert and Winston.
Bradford W. Sheafor and Amando Morales. (1980). Social Work : A Profession of Many Face. Boston : Allyn and Bacon Inc.
McGee, M. (2005). Economic-in terms of The Good, The Bad and The Economist. Melton. Australia : IBID Press.
Richmond M. (1922). What is social case work. New York : Russel Sage Foundation. เรียกใช้เมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จาก https:// www.dsdw.go.tj/organization/t_goal_php.